Page 16 - kpi23788
P. 16

Conflict Mapping Thailand phase 5
                                                                                                              6



                                                               บทที่2

                                                      แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง



                             2.1 แนวคิดแผนที่การจัดการความขัดแย้ง


                             สถาบันพระปกเกล้าให้นิยาม “แผนที่ความขัดแย้ง” (Conflict Map) ว่า เปรียบเสมือน เครื่องมือ
                  พื้นฐานที่ใช้ในการวางแผนการแก้ไขความขัดแย้ง ด้วยการสร้างแผนภาพง่ายๆ แล้วระบุประเด็นการขัดแย้ง การแจก
                  แจงคู่ขัดแย้ง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความขัดแย้ง และการประเมิน
                  ทางเลือกต่าง ๆ ในการแก้ไข เพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นภาพรวมของสถานการณ์ตรงกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสาร

                  เพื่อหาทางออกร่วมกันในกาด าเนินงานต่อไปในอนาคต (สถาบันพระปกเกล้า, 2019) และเมื่อกล่าวถึงประเด็น
                  ความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ หมายถึง นโยบายหรือโครงการที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
                  เนื่องมาจาก “การพัฒนา” จากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ โดยโครงการวิจัยนี้ยังคงยึดแนวคิด
                  ดังกล่าวและพัฒนาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะที่เหมาะสมส าหรับสถาบันพระปกเกล้าต่อไป

                             การพัฒนากรอบแนวคิดที่ใช้ในการส ารวจความขัดแย้งอย่างเป็นระบบผู้ศึกษาใช้ฐานความรู้ด้านสังคม
                  วิทยาและนักวิชาการที่ศึกษาเกี่ยวกับประเด็นความขัดแย้งได้แก่ Máire A. Dugan, L.Shay Bright (2001) และ
                  Paul Wehr (2019) เนื่องจากศาสตร์ด้านสังคมวิทยาอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ
                             สังคมวิทยาเป็นพื้นฐานส าคัญในการท าความเข้าใจความความขัดแย้งเนื่องจากเป็นศาสตร์ที่ให้

                  ความสนใจกับมนุษย์และความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มและสังคม การปฏิสัมพันธ์
                  วัฒนธรรม รวมทั้งสถาบันทางสังคมต่าง ๆ ประเด็นที่สังคมวิทยาสนใจ คือ ความพยายามวิเคราะห์และอธิบายว่า
                  ความหลากหลายของปัจเจกบุคคล ชุมชน และโลกของเราเกี่ยวข้องกันและมีกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกัน
                  อย่างไร การที่สังคมวิทยายังสนใจศึกษามนุษย์ในหลายแง่มุมและหลายมิติ นักสังคมวิทยาจึงให้ความสนใจกับการ

                  “ให้ความหมาย” ของชุดความสัมพันธ์ทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การแบ่งงานกันท าอัตลักษณ์ เครือญาติ
                  มิตรภาพ องค์กรทางสังคม เงื่อนไขที่ท าให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์ สังคมวิทยายังครอบคลุมการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
                  กับมวลหมู่มนุษยชาติในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านการศึกษาทางประวัติศาสตร์ จิตวิทยา และเศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา
                  ส ารวจรูปแบบที่มีความหมายของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน (American Sociology Association, 2020;

                  the British Academy, 2020) ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ปรากฎเป็นความขัดแย้งเนื่องจากแต่ละกลุ่มทางสังคมและ
                  ประชากรมีความแตกต่างกัน เช่น เพศ อายุ กลุ่มชาติพันธุ์ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงมีการให้คุณค่าและ
                  ให้ความหมายต่างกัน เมื่อรัฐบาลด าเนินโครงการจึงท าให้คนเหล่านี้มีประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป ความขัดแย้ง

                  เกิดขึ้นเนื่องจากจะมีบางกลุ่มเสียเปรียบและได้เปรียบ ณ ปัจจุบันพูดถึงความเหลื่อมล้ ากันมากขึ้นด้วย เพราะโอกาส
                  ที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการตามแนวนโยบายของรัฐได้ไม่เท่ากันทั้ง ๆ ที่ควรจะมีโอกาสในชีวิตที่เท่าเทียมกัน
                             การวิเคราะห์หารูปแบบของความขัดแย้งจึงมาจากความสัมพันธ์ทางสังคม ในงานศึกษาชิ้นนี้เน้น
                  ประเด็นความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ นอกจากความรู้ด้านสังคมวิทยาแล้ว ผู้ศึกษาใช้
                  แนวทางแผนภูมิการท าแผนที่ความขัดแย้งของ Máire A. Dugan L.Shay Bright (2001) และ Paul Wehr (2019)

                  เพื่อท าให้ความซับซ้อนของการส ารวจข้อมูลประเด็นความขัดแย้งจากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ
                  เข้าใจได้ชัดเจนขึ้น เพื่อให้ได้ตัวชี้วัดที่ส าคัญในประเด็นการส ารวจข้อมูลแผนที่ความขัดแย้ง ใน 5 มิติ คือ 1) มิติความ

                                                                 -6-
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21