Page 19 - kpi23788
P. 19

Conflict Mapping Thailand phase 5
                                                                                                              9





                                                      Structural: System
                                                    Structural: Sub-System



                                                           Relational
                                                           Issue-Specific






                             ภาพที่ 1 โมเดลกระบวนทัศน์ความขัดแย้งของ Máire A. Dugan (1996)

                               Máire A. Dugan (1996) เสนอโมเดลกระบวนทัศน์ความขัดแย้ง ยังสะท้อนให้เห็นโครงสร้างของ

                  ความรุนแรง โดยแนวคิดนี้อ้างอิงถึงการกีดกันคนบางกลุ่มบางพวกออกจากสังคมโดยกระบวนการท าให้เป็นชายขอบ
                  หากกลุ่มเหล่านั้นมีลักษณะทางชาติพันธุ์ ศาสนา หรือชนชั้น ที่ไม่เหมือนกัน หรืออีกนัยหนึ่งคือ ความขัดแย้งระหว่าง
                  ชาติพันธุ์อาจมีสาเหตุมาจากโครงสร้างความขัดแย้งเพราะนโยบายทางการเมืองสนับสนุนและให้น้ าหนักกับกลุ่มชาติ
                  พันธุ์ใดชาติพันธุ์หนึ่ง และสามารถอธิบายรูปแบบความขัดแย้งโดยใช้โมเดลของ Dugan ว่าประเด็นปัญหามีความ

                  สลับซับซ้อน เมื่อวิเคราะห์ความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ ความขัดแย้งนั้น
                  อยู่ในระบบและอาจปรากฎในระดับโครงสร้างความขัดแย้ง เมื่อจะระบุและสร้างแผนที่ความขัดแย้งนอกจากการให้
                  ความสนใจกับระดับต่าง ๆแล้ว บริบทอื่น ๆ จะต้องถูกน ามาใช้ในการอธิบายในแต่ละระดับด้วย บริบทเหล่านั้นได้แก่
                  ภูมิศาสตร์ พรมแดน การเมือง โครงสร้างทางเศรษฐกิจ รูปแบบการสื่อสาร และการตัดสินใจโดยรวมทั้งหมด

                  ตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งจากโครงการพัฒนานอกจากเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านเศรษฐกิจแล้วยังมีมิติทางการเมือง
                  และความสัมพันธ์เชิงอ านาจเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพยากรที่ต้องการ ดังนั้นการคลี่คลายประเด็นความขัดแย้งจึงไม่
                  สามารถจัดการกับปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือ การเมือง เพียงอย่างเดียวเท่านั้น การวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์ที่
                  ซับซ้อนหลายระดับ และวิเคราะห์กลุ่มภาคีต่าง ๆ ที่อาจจะได้รับผลกระทบต่างหากที่จะน าไปสู่การคลี่คลายความ

                  ขัดแย้งได้อย่างสมบูรณ์
                             2.3) แง่มุมทางวัฒนธรรม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
                                1) สไตล์การสื่อสาร

                                2) เวลาเริ่มต้น
                               ประเด็นทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งจ าเป็นมากที่จะต้องน ามาวิเคราะห์ประเด็นความขัดแย้ง เนื่องจาก
                  วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ก าหนดพฤติกรรมและทัศนคติ มีอิทธิพลต่อการตีความและการให้ความหมายของคน เหตุการณ์
                  ในพื้นที่ และการกระท า โดยวัฒนธรรมจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละเชื้อชาติ, เพศ, ชนชั้นทางสังคม – เศรษฐกิจ
                  และสถานที่ท างาน พลวัตรของความขัดแย้งที่มีรากฐานมาจากวัฒนธรรม พบได้ตั้งแต่ การมีทัศคติต่อความขัดแย้ง

                  รูปแบบของการสื่อสาร การเปิดเผยความลับ การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุภารกิจการแก้ไขปัญหาการตัดสินใจ และความ
                  คาดหวังต่อผลลัพธ์ที่ออกมา การวิเคราะห์ประเด็นวัฒนธรรมว่าเป็นปัจจัยของความขัดแย้งอย่างไรนั้น ให้ดูผ่านการ

                                                                 -9-
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24