Page 18 - kpi23788
P. 18

Conflict Mapping Thailand phase 5
                                                                                                              8



                  (trauma) ดังตัวอย่างที่เคยบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ เช่น เหตุการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กลายเป็นตัวตนของคู่
                  ความขัดแย้ง และแผลใจนี่เองสามารถส่งต่อจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งได้หลายชั่วอายุคน จนดูเหมือนว่า

                  พึ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี่เอง และตราบใดที่แผลใจยังไม่จางหายไปไหนตราบใดที่เหตุของบาดแผลยังไม่ถูกช าระ
                  ความขัดแย้งจึงยังคงด าเนินต่อไป ดังนั้นการจะคลี่คลายความขัดแย้ง ผู้แก้ไขความขัดแย้งจะต้องเปิดพื้นทีให้กับ
                  ความทรงจ าเหล่านั้นอย่างกล้าหาญ ให้ความส าคัญ ตระหนักถึงเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างเหมาะสม

                             2. บริบทความขัดแย้ง แบ่งเป็น 4 แบบ คือ ระดับความขัดแย้ง ระดับต่าง ๆ แง่มุมทางวัฒนธรรม

                  และตัวก าหนดพฤติกรรม
                             2.1) ระดับความขัดแย้ง แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้

                                1) บุคคล หมายถึง ทั้งระดับปัจเจกบุคคลจนถึงระหว่างบุคคล
                               2) สังคม หมายถึง องค์กรต่าง ๆ ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเล็ก ๆ สถาบัน ธุรกิจ ชุมชน กลุ่มชาติพันธุ์
                  ต่าง ๆ และกลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ
                               3) นานาชาติ หมายถึง ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศและระหว่างประเทศ

                  หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศและเป็นที่จับจ้องของนานาชาติ หรือนานาชาติต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะมี
                  ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง หรือธรรมชาติสังคม
                               4) โลก/นิเวศวิทยา หมายถึง ความขัดแย้งที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ

                             2.2) ระดับของความขัดแย้งแบบต่าง ๆ ต้องถูกน ามาพิจารณาด้วยเช่นกัน เพราะความขัดแย้งอาจมี
                  หลายระดับและมีความซับซ้อน ตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งระหว่างบุคคลที่หากเกิดขึ้นซ้ า ๆ ก็อาจกลายเป็น
                  ความขัดแย้งในระดับสถาบัน เพราะพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลมักได้รับอิทธิพลมาจากสถาบันนั้นเอง ระดับของ
                  ความขัดแย้งระบบย่อยหมายรวมถึง วัฒนธรรม การเมือง อิทธิพลทางสังคม โดยสรุปคือ ปัจเจกบุคคลและโครงสร้าง
                  ทางสังคมล้วนแล้วแต่เป็นส่วนสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และเป็นเหตุผลส าคัญที่ว่า เมื่อจัดท าแผนที่ความขัดแย้งจะต้อง

                  ค านึงถึงความสัมพันธ์ในหลายระดับ ตัวอย่างเช่น ความขัดแย้งในระดับโครงสร้างมักจะเกี่ยวข้องระหว่าง กลุ่มชาติ
                  พันธุ์ใดกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง หรือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือชนชั้นทางสังคมใดชนชั้นหนึ่งที่มีอ านาจไม่เท่ากัน เมื่อมาถึง
                  ตรงนี้ โมเดลกระบวนทัศน์เครือข่ายความขัดแย้งของ Máire A. Dugan มีความเหมาะสมที่จะน ามาใช้อธิบาย

                  โครงข่ายและความซับซ้อนของปัญหา เพราะโมเดลนี้ชี้ให้เห็นว่าความขัดแย้งมีหลากหลายระดับ























                                                                 -8-
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23