Page 13 - kpi23788
P. 13
Conflict Mapping Thailand phase 5
3
เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้สนใจในแต่ละภูมิภาคตระหนักถึงความส าคัญของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
จากโครงการต่าง ๆ ตามแนวทางของรัฐโดยจัดท าฐานข้อมูลในพื้นที่ของตนอย่างเป็นระบบและเป็นการสร้างองค์
ความรู้ความขัดแย้งที่ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมโดยน าไปใช้ประโยชน์ในเชิงข้อมูลได้จริง
ซึ่งผู้วิจัยจึงได้ประยุกต์แนวคิดดังกล่าว เพื่อส ารวจ ศึกษา จัดเก็บ และรวบรวมข้อมูลประเด็นความขัดแย้งที่เกิดจาก
หรือมีผลมาการด าเนินโครงการพัฒนาต่าง ๆ ตามแนวนโยบายของรัฐ ในทุกภูมิภาคของประเทศ โดยผ่านการเข้าถึง
(Appreciation) ให้ผู้ใช้ได้เข้าใจ (Understanding) สถานการณ์ความขัดแย้งนั้น ๆ โดยการศึกษาวิจัยถึงสภาพ
ความเป็นจริงของพื้นที่ (Area Based) โดยวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุ (Roots of conflict)
พลวัตรของความขัดแย้ง (Dynamics of conflict) และแนวทางการบริหารความขัดแย้งที่ใช้ ตลอดจนผลลัพธ์จาก
การด าเนินการดังกล่าว (Conflict management approached) เพื่อน าเสนอทางเลือกใ น การบริหาร
ความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ในอนาคต โดยการสรุปประเด็นความขัดแย้งที่เป็นปัญหาที่ส าคัญและเร่งด่วนของแต่ละ
พื้นที่ตลอดจน สร้างพื้นที่เพื่อการร่วมกันต่อยอดและสนับสนุนให้เกิดการวิจัยเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นนั้น
ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรมต่อไปในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการน าผลจาการป้อนข้อมูลงานวิจัยไปใส่ลงใน
ระบบฐานข้อมูล
นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ยังเป็นการน าฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมและข้อมูลใหม่ ความเกี่ยวข้องของระบบ
เตือนภัยล่วงหน้าจะพัฒนามาจากฐานข้อมูลที่สถาบันพระปกเกล้าได้เก็บไว้แล้วอย่างเป็นระบบ จนได้รับ
การยอมรับจากชุมชน พัฒนาเป็นระบบเตือนภัยความขัดแย้งรุนแรง (Violence –Conflict Early Warning System
) ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงส าหรับการเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อการ
ตอบสนองที่มีประสิทธิภาพ และขยายรายการอันตรายภายใต้การเฝ้าระวังความขัดแย้งรุนแรงที่อาจะเกิดขึ้นใน
อนาคต ทั้งยังสามารถน าไปสู่การป้องกันความเสียหายรายแรงทั้งชีวิตและทรัพย์สิน และ "สร้างกลับให้ดีขึ้น"
(Bring back better) ในการกู้คืน การฟื้นฟู และการสร้างใหม่
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์เหตุการณ์ความขัดแย้งมิติทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อไป
ออกแบบและสร้างระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลและส ารวจข้อมูลแผนที่ความขัดแย้งอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน
สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้ง (analyzing a conflict situations) ได้อย่างทันท่วงที
2.2 เพื่อน าข้อมูลในภูมิภาคเหนือและภาคกลางมาลงระบบฐานข้อมูลความขัดแย้งทั่วมิติ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.3 เพื่อน าฐานข้อมูลความขัดแย้งพัฒนาสู่รูปแบบแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ และระบบเตือนภัย
ความขัดแย้งรุนแรง (Violence –Conflict Early Warning System Database) มีระบบแจ้งเตือน (warning
system) ส าหรับเฝ้าระวังสถานการณ์ความขัดแย้ง (monitoring conflict situations) ให้กับสังคมไทย
3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
3.1 สถาบันพระปกเกล้าจะได้น าข้อมูลแผนที่ความขัดแย้งที่มีอยู่แล้วมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบและ
มีมาตรฐานสากล โดยฐานข้อมูลดังกล่าวจะสามารถน าไปใช้วิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้งได้
3.2 สถาบันพระปกเกล้าจะได้น าฐานข้อมูลความขัดแย้งมาปรับเปลี่ยนให้เป็นระบบแผนที่
ความขัดแย้งแบบอิเล็กทรอนิสก์อย่างมีมาตรฐานในระดับประเทศและสากล
-3-