Page 11 - kpi23788
P. 11

Conflict Mapping Thailand phase 5
                                                                                                              1



                                                              บทที่ 1

                               โครงการวิจัยการส ารวจแผนที่ข้อมูลประเด็นความขัดแย้งในประเทศไทย
                                            ( Conflict Mapping Thailand ) Phase 5


                  1.  หลักการและเหตุผล
                             การจัดท าแผนที่ความขัดแย้ง (Conflict Mapping) เปรียบเสมือน เครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการวาง
                  แผนการแก้ไขความขัดแย้ง ด้วยการสร้างแผนภาพง่ายๆ แล้วระบุประเด็นการขัดแย้ง การแจกแจงคู่ขัดแย้ง

                  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ความขัดแย้ง และการประเมินทางเลือกต่าง ๆ
                  ในการแก้ไข เพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นภาพรวมของสถานการณ์ตรงกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสื่อสารเพื่อหาทางออก
                  ร่วมกันในกาด าเนินงานต่อไปในอนาคต
                             เมื่อประเทศต้องการ “การพัฒนา” จากการด าเนินโครงการตามแนวนโยบายของรัฐ หลายคนก็อาจนึก

                  ถึงความหมายในแง่บวก ซึ่งมาจากจินตนาการเชิงบวกถึงคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจ และสังคมที่ดีขึ้น แต่จากสถิติ และ
                  ข้อมูลจ านวนมากก็ไม่สามารถปฏิเสธได้อีกมุมหนึ่งว่า “การพัฒนา”   ก็น ามาซึ่ง “ความไม่เท่าเทียม”
                  และก่อให้เกิด “ความขัดแย้ง” ในท้ายที่สุด ซึ่งปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับอ านาจรัฐนั้น ขณะนี้เกิดขึ้น
                  โดยทั่วไปแทบทุกเรื่องที่กระจายอยู่บนแผ่นดินไทย ดังจะเห็นได้ผลกระทบ และปัญหาความขัดแย้งจากการด าเนิน

                  โครงการตามแนวนโยบายของรัฐ ในหลายโครงการ ในต่างยุค ต่างสมัย และหลากหลายในกรณีและประเด็นปัญหา
                  อาทิเช่น โครงการก่อสร้างเขื่อนปากมูล โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าบ่อนอก-หินกรูด โครงการก่อสร้างท่อก๊าซและ
                  โรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย และประเด็นการสร้างโรงไฟฟ้าที่เทพา จังหวัดสงขลา ล่าสุด โครงการจะนะเมืองต้นแบบ
                  อุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต หรือชาวบ้านเรียกกันว่า โครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ พื้นฐานความขัดแย้ง

                  ส่วนหนึ่งเกิดจากเรื่องปัญหาที่ดินระหว่างชาวบ้านกับรัฐในหลายพื้นที่ กรณีดังกล่าวเป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่แสดงให้
                  เห็นความเป็นจริงอีกด้านหนึ่ง คือ ตลอดกว่า 40 ปีทีผ่านมาประเทศไทยใช้แนวทางการพัฒนาที่มุ่งสร้าง
                  ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเน้นอุตสาหกรรมและการส่งออก คู่ไปกับแนวคิดความทันสมัย (Modernization)

                  และโลกาภิวัตน์ (Globalization) ยังอยู่ภายใต้กรอบของทุนนิยมประชาธิปไตยแบบตะวันตก ท าให้ประเทศไทย
                  มีลักษณะ "ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา (Modernization without development)" ส่งผลให้ระบบการศึกษา ศาสนา
                  ค่านิยมมีความอ่อนแอและขาดพลังที่จะพัฒนาให้มีความเจริญก้าวหน้า
                             ความขัดแย้งสามารถพบได้ในหลากหลายระดับตั้งแต่ระดับจุลภาค จนถึงระดับมหภาค ตั้งแต่
                  ในระดับท้องถิ่น ระดับท้องที่ในจังหวัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และ

                  ระดับประเทศ ความขัดแย้งต่าง ๆ เหล่านั้นท าให้เกิดความสูญเสียทั้งงบประมาณ การเสียชีวิต และจิตใจที่ไม่สามารถ
                  ประเมินค่าได้ ตามกรอบแนวคิดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนานหลายกรณีใช้เวลาเยียวยา
                  หลายชั่วอายุคน จากกรณีตัวอย่างที่กล่าวมาในข้างต้น ทางสถาบันพระปกเกล้าได้สนับสนุนให้นักวิจัย

                  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จัดท า Conflict Mapping
                             ในระยะของงานวิจัยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4  นั้นเน้นการส ารวจและจัดเก็บข้อมูลเพื่อเป็นมาตรฐานของ
                  แต่ละปี โดยมี Platform ในการเก็บข้อมูลตามมิติความขัดแย้ง (Conflict Dimension) ต่าง ๆ ต่อไปนี้
                             1) มิติความขัดแย้งทางการเมือง  เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ความไม่ลงรอยกัน ไปจนกระทั่ง

                  ถึงการสูญเสียทรัพย์สิน และสูญเสียชีวิต โดยความขัดแย้งนั้นเกิดมาจากสาเหตุความขัดแย้งทางการเมือง

                                                                 -1-
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16