Page 12 - kpi23788
P. 12

Conflict Mapping Thailand phase 5
                                                                                                              2



                  ซึ่งอาจจะเป็นการไม่เห็นด้วยด้วยความคิดต่างทางการเมือง การแบ่งขั้วทางการเมือง และสาเหตุความขัดแย้งที่
                  ปรากฏอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทางการเมือง ตัวอย่างความขัดแย้งทางการเมืองในไทยมีหลายระดับ เช่น การแสดงออกผ่าน

                  การถกเถียงในระบบรัฐสภาตามครรลองประชาธิปไตย การไม่ลงรอยกันระหว่างกลุ่มการเมืองต่าง ๆ
                  นอกรัฐสภา จนน าไปสู่การชุมนุมทางการเมือง และลุกลามเป็นการก่อความไม่สงบ การใช้มาตรการปราบปรามโดย
                  รัฐ และความรุนแรงทางการเมือง
                             2) มิติความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นความเหลื่อมล้ าทางเศรษฐกิจในระดับ
                  ชุมชุน ระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับประเทศ ซึ่งความขัดแย้งรุนแรงนั้นก่อเกิด ความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจ

                  การสูญเสียทรัพย์สิน และสูญเสียชีวิต โดยความขัดแย้งนั้นเกิดมาจากสาเหตุความขัดแย้งทางเศรษฐกิจเป็นหลัก
                  ตัวอย่างความขัดแย้งทางเศรษฐกิจในไทยมีหลายระดับ เช่น ประชาชนประท้วงจากความเดือดร้อนประเด็นเศรษฐกิจ
                  เช่น ชาวบ้านประท้วงเรื่องราคายาง ราคาอ้อย ราคาปาล์ม เป็นต้น

                             3) มิติความขัดแย้งทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็น ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากสาเหตุความ
                  ขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก โดยเฉพาะสาเหตุความเหลื่อมล้ าด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสาเหตุความ
                  ขัดแย้งที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ภัยพิบัติน้ าท่วม ภัยพิบัติวาตภัย เป็นต้น เนื่องจากสาเหตุความขัดแย้งที่
                  กล่าวข้างต้น ท าให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสีย เกิดการสูญเสียทรัพย์สิน และสูญเสียชีวิต โดยความ

                  ขัดแย้งนั้น ๆ เกิดมาจากสาเหตุความขัดแย้งทางทรัพยากรธรรมชาติเป็นส าคัญ ตัวอย่างมิติความขัดแย้งทาง
                  ทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดในประเทศไทยได้แก่ ประเด็น การประท้วงกรณีเขื่อนแม่วงก์ การประท้วงเรื่องโรงไฟฟ้า
                  ถ่านหิน เป็นต้น
                             4 ) มิติความขัดแย้งด้านชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรม ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากสาเหตุความ

                  ขัดแย้งด้านชาติพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นหลัก ซึ่งความขัดแย้งในมิตินี้จะเป็นความขัดแย้งที่กระทบกับเรื่อง
                  “อัตลักษณ์” เป็นส าคัญเนื่องจากการละเมิดสิทธิทางวัฒนธรรม มีการเลือกปฏิบัติ เกิดความไม่เป็นธรรม
                  สร้างความแค้นเคืองให้คนในพื้นที่ กระทั่งคนที่ด ารงอัตลักษณ์ของตนต้องการเสรีภาพ อิสรภาพ เพื่อจะได้สามารถ
                  คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของตนไว้ เป็นต้น

                             ค าถามส าคัญที่ต้องการค าตอบของงานวิจัยชิ้นนี้  คือ ความขัดแย้งที่เกิดจากหรือมีผลมาการด าเนิน
                  โครงการพัฒนาต่าง ๆ ตามแนวนโยบายของรัฐนั้น มีมากน้อยเพียงใดใน แต่ละพื้นที่ที มีความแตกต่างกันในบริบท
                  ของพื้นที่มีแนวทางบริหารความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างไร และผลของการบริหารจัดการความขัดแย้งใน
                  แต่ละภูมิภาค แต่ละจังหวัดนับเป็นอย่างไร  รวมไปจนถึงการมองภาพการบริหารจัดการความขัดแย้งร่วมกัน เพื่อจะ

                  เดินทางไปข้างหน้าร่วมกันอย่างไรอย่างสร้างสรรค์ และเปลี่ยนแปลงกระแสของ  “ความขัดแย้ง”
                  เป็นบรรยากาศของ “ความร่วมมือ” กันเพื่อพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป
                             โครงการวิจัยการส ารวจแผนที่ข้อมูลประเด็นความขัดแย้งในประเทศไทย (Conflict Mapping
                  Thailand ) phase 5   โดยส านักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า เล็งเห็นความส าคัญใน

                  การส ารวจองค์ความรู้การจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมโดยเฉพาะประเด็oความขัดแย้งในมิติ
                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  (ซึ่งด าเนินมาตั้งแต่ Phase 4 ในภาคใต้และอิสาน ) ในภาคกลางและ
                  ภาคเหนือซึ่งในภาคกลางท ากรณีศึกษาเรื่อง EEC ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และ ในภาคเหนือเน้น

                  เรื่องวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ที่ จังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ เพื่อจัดท าข้อมูลสาเหตุ คู่ขัดแย้ง ความส าคัญของปัญหา
                  และสถานะปัจจุบันของความขัดแย้งทั่วประเทศ โดยเฉพาะประเด็นปัญหาความขัดแย้งที่ส าคัญ และ


                                                                 -2-
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17