Page 26 - kpi23788
P. 26

Conflict Mapping Thailand phase 5
                                                                                                              16



                  ใช้ความรุนแรงมีสูงกว่าการยุติความรุนแรง ถ้าคู่กรณียังไม่พร้อมเข้าสู่การเจรจาอย่างเป็นทางการ จะใช้การสนับสนุน

                  ผู้ที่อยากให้เกิดสันติภาพขึ้น เพื่อให้ส่งผลต่อการจัดการความขัดแย้ง เช่น การกดดันด้วยวิธีการต่าง ๆ จนท าให้
                  อ านาจเกิดความสมมาตรหรือเท่าเทียม (Bercovitch et al., 2009, p. 30)

                             กล่าวโดยสรุป ความขัดแย้งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อยู่คู่กับมนุษย์ไม่ว่าจะในระดับบุคคลหรือ
                  ในระดับสังคม การที่จะจัดการความขัดแย้งได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต้องเริ่มจากการวิเคราะห์

                  ความขัดแย้งอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ความขัดแย้งท าได้โดยพิจารณาประเด็นขัดแย้ง การแยกแยะ และระบุ
                  มุมมองของทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือคู่กรณี การหาต้นตอที่แท้จริงของปัญหาความขัดแย้ง (Sources) พิจารณา

                  ความสัมพันธ์ระหว่างกันที่ผ่านมาและในปัจจุบันเป็นอย่างไร ประเมินว่าความขัดแย้งนั้นมีแนวโน้มขยายตัว

                  (Escalation) มากขึ้นหรือลดลง (De-Escalation) การศึกษาพฤติกรรมที่กระท าต่อกัน รูปแบบวิธีการที่บุคคลเหล่านั้น
                  ใช้ในการจัดการความขัดแย้ง การวิเคราะห์อ านาจของคู่กรณี การพิจารณาถึงบริบททางประวัติศาสตร์ การประเมิน

                  ทางเลือกต่าง ๆ (Options)  การประเมินความเป็นไปได้ที่จะเจรจาไกล่เกลี่ย การเจรจาโดยค้นหาจุดยืนและจุดสนใจ

                  สถานการณ์ที่เหมาะสมในการเจรจา และรูปแบบวิธีการที่ใช้ในการจัดการความขัดแย้งในพื้นที่

















































                                                                -16-
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31