Page 22 - 22813_Fulltext
P. 22

16



                         1) ความขัดแย้งภายใน (Internal Conflict) ประเด็นส าคัญคือเป็นเรื่องของจิตใจของบุคคล หมายถึง
               ภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นภายในใจของแต่ละบุคคลที่อยู่ในครอบครัว องค์กร หรือสังคม ซึ่งเกิดความแปลกแยกใน
               ตัวเอง หรือแปลกแยกจากคนอื่นๆ หรือองค์กรอื่นๆ ความขัดแย้งเกิดจากปัจจัยภายในคือ ความอยากได้ อยากใหญ่

               ใจแคบ รวมถึง โลภะ โทสะและโมหะ (โลภ โกรธ หลง) (หรรษา ธรรมหาโส, 2547)

                         2) ความขัดแย้งภายนอก (External Conflict) หมายถึง ภาวะของความขัดแย้งที่บุคคล หรือกลุ่มบุคคล
               ขัดกัน ไม่ลงรอยกัน และไม่เห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ชาติพันธุ์  ข้อมูล ผลประโยชน์ และ
               โครงสร้างทางองค์กรและสังคมที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์และค่านิยม   โดยสามารถอธิบายได้ ดังนี้ (Moore,
               1984)

                                 (1) ความขัดแย้งด้านข้อมูล (Data  Conflict) ปัญหาพื้นฐานของความขัดแย้งอาจจะเกิด
                                     จากข้อมูลน้อยไป  การแปรผลผิดพลาด  การวิเคราะห์ออกมาด้วยความเห็นต่างกัน
                                     หรือแม้แต่ปัญหาความแตกต่างในการรับรู้ข้อมูล (Perception)  บางครั้งก็เป็นปัญหา
                                     ขัดแย้งกันได้

                                 (2) ความขัดแย้งจากผลประโยชน์ (Interest Conflict) เป็นเหตุผลของการแย่งผลประโยชน์
               ในสิ่งที่ดูเหมือนมีหรือไม่มีเพียงพอเป็นเรื่องของทั้งตัวเนื้อหา  กระบวนการและจิตวิทยา เช่น ทรัพยากร รวมถึง
               ความรู้สึกว่ายุติธรรมหรือไม่
                                 (3)  ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง (Structure  Conflict)  เป็นเรื่องของอ านาจ  แย่งชิงอ านาจการ
               กระจายอ านาจ  ปัญหาโครงสร้างรวมไปถึง กฎ  ระเบียบ  บทบาท  ภูมิศาสตร์  ระยะเวลาและระบบ
                                 (4) ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ (Relationship  Conflict) เป็นปัญหาด้านบุคลิกภาพ

               พฤติกรรมต่างๆ ในอดีต  อารมณ์ที่รุนแรง  ความเข้าใจผิด  การสื่อสารที่บกพร่อง
                                 (5) ความขัดแย้งด้านค่านิยม (Values Conflict) เป็นปัญหาระบบของความเชื่อ ความ
               แตกต่างในค่านิยม  ขนบประเพณี  ประวัติการเลี้ยงดูที่หล่อหลอมขึ้นมา


               พลวัตของความขัดแย้ง
                        ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ มีพัฒนาการและ
               เป็นพลวัต กล่าวคือมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเป็นระยะต่างๆ เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นผู้เขียนจึงใช้ตัวย่อว่า LEM

               Conflict ประกอบด้วย

               ความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ (Latent Conflict)

                        สถานการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความขัดแย้งอย่างยิ่ง แต่ยังไม่มีลักษณะความขัดแย้งปรากฏเด่นชัด

               (บรรพต  ต้นธีรวงศ์, 2558, น.182)  แม้ต้นตอของความขัดแย้งนั้น ปรากฏว่าคู่กรณีอาจไม่ได้ตระหนักถึงความ
               ขัดแย้งที่คุกรุ่นอยู่ ตัวอย่างเช่น ในสถานการณ์ที่กฎหมายฉบับหนึ่งหรือข้อก าหนดภายใต้สภาวการณ์หนึ่งอาจ

               ก่อให้เกิดผลทางด้านลบตามมาต่อคู่กรณีฝ่ายหนึ่งหรือมากกว่า ในการเจรจา ไกล่เกลี่ยหรือการท าสัญญาระหว่าง

               กัน หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือสถานการณ์ที่อาจเกิดความขัดแย้งที่แฝงเร้น อยู่ คือ การเสนอความคิดเห็น การ
               ตัดสินใจ หรือการก าหนดนโยบายที่ดูจะไม่เป็นที่นิยม แต่ก็ยังไม่มีการประกาศใช้ อีกตัวอย่างของความขัดแย้งทาง
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27