Page 18 - 22813_Fulltext
P. 18
12
หัวข้อหลักที่ 1. สันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา ความหมายและหลักการส าคัญ
สาระส าคัญ
มุ่งให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้เรื่องสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา ความหมายและหลักการส าคัญ สันติ
วัฒนธรรมในสถานศึกษา มีความหมายและหลักการส าคัญที่ส่งเสริมให้คนหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงในรูปแบบ
ต่างๆ และเข้าใจคนอื่น ความรุนแรงแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น ความรุนแรงทางกายภาพ โครงสร้าง และวัฒนธรรม
ที่เป็นการถ่ายทอดสู่ผู้อื่น
หัวข้อหลักที่ 2. ธรรมชาติ พลวัต ประเภท การจัดการความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธี
สาระส าคัญ
มุ่งให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจเรื่อง ธรรมชาติและความส าคัญของการจัดการความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติ
วิธี เห็นประโยชน์ของการยึดมั่นในแนวทางสันติวิธีแทนการใช้ความรุนแรงในทุกระดับ ซึ่งจะส่งผลให้เกิด
สัมพันธภาพอันดีต่อกันได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การป้องกัน แก้ไข และจัดการกับความขัดแย้งและความรุนแรงที่
เกิดขึ้นเป็นสิ่งจ าเป็นเพื่อแสวงหาทางออกที่พึงพอใจร่วมกันและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
หัวข้อหลักที่ 1. สันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา ความหมายและหลักการส าคัญ
สถาบันการศึกษาเป็นหน่วยงาน ที่มีหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้ วัฒนธรรมและทักษะอันจ าเป็นในการ
ด ารงชีพของสมาชิกในสังคม อีกทั้ง ท าให้สามารถปรับตนในการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและปฏิบัติตนให้มี
คุณค่าแก่สังคม จากหน้าที่ที่กล่าวมา สามารถกล่าวได้ว่ามีความสอดคล้องกับ สันติวัฒนธรรมดังที่สหประชาชาติ
ได้นิยามความหมายของสันติวัฒนธรรมไว้ว่า เกี่ยวข้องกับคุณค่า ทัศนคติ พฤติกรรม วิถีชีวิตที่ปฏิเสธการใช้ความ
รุนแรง และป้องกันความขัดแย้งไม่ให้ขยายตัวกลายเป็นความรุนแรง โดยจัดการที่รากเหง้าของปัญหาด้วยการ
พูดคุย นอกจากนี้ ยังรวมถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคม บนหลักการ
พื้นฐานของความเมตตากรุณา และความเข้าใจ
แม้นว่าความขัดแย้งจะเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ แต่การจัดการไม่ให้ความขัดแย้งขยายตัวกลายเป็น
ความรุนแรงเป็นสิ่งจ าเป็น สถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงในสถานศึกษาเกิดขึ้นในหลายลักษณะและ
รูปแบบ มีทั้งการท าร้ายร่างกาย การใช้ค าพูดให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดหรือเสียใจ ซึ่งมีทั้งในโลกออนไลน์และแบบ
เผชิญหน้ากันโดยตรง ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีทั้งการสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ เจ็บป่วยทางจิตใจ ความรุนแรงใน
แต่ละสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยมีปรากฏให้เห็นในสื่อต่างๆ
อย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่าง สถานการณ์ความรุนแรงในการก่อเหตุทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาอาชีวศึกษา
บางช่วงสูงถึงปีละ 3 พันครั้ง (ชลัท ประเทืองรัตนา,2556) หรือเหตุการณ์การใช้ค าพูดที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน