Page 21 - 22813_Fulltext
P. 21

15



               หัวข้อหลักที่ 2.    ธรรมชาติ พลวัต ประเภท การจัดการความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธี


               ความหมายของความขัดแย้ง

                         เมื่อกล่าวถึงความขัดแย้งหลายคนจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ความจริงแล้วความขัดแย้ง
               เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อยู่คู่กับมนุษย์ไม่ว่าจะในระดับบุคคลหรือในระดับสังคม นักวิชาการด้านการจัดการ
               ความขัดแย้งหลายท่านเห็นว่า ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเสมอและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อมนุษย์มี

               ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ความขัดแย้งบางครั้งก่อให้เกิดประโยชน์ในการได้แนวคิดใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลงในทาง
               ที่ดีขึ้นได้ แต่บางครั้งถ้าจัดการไม่ดีก็สามารถท าให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงได้เช่นกัน สาเหตุความขัดแย้งที่
               เกิดขึ้นอธิบายได้ด้วยหลายตัวแปร เช่น ตัวแปรสภาพภูมิศาสตร์อันก่อให้เกิดข้อพิพาทด้านพรมแดนระหว่าง
               ประเทศ ตัวแปรทางสังคมและเศรษฐกิจท าให้เกิดการช่วงชิงทรัพยากร ตัวแปรทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดปัญหา
               เชื้อชาติ เป็นต้น


                         ความหมายความขัดแย้ง คือปรากฏการณ์ ที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนหรือสองกลุ่มขึ้นไป ที่มีเป้าหมายหรือ
               จุดยืนที่เข้ากันไม่ได้ อีกทั้ง ทั้งสองฝ่ายมิได้อยู่นิ่งเฉยแต่มีการแข่งขัน เพื่อให้ได้ชัยชนะ การเกิดความขัดแย้งขึ้นได้
               จึงต้องมีทั้ง 3 องค์ประกอบ เกิดขึ้นพร้อมกัน คือ มีคนสองคนหรือสองกลุ่มขึ้นไป มีเป้าหมายที่เข้ากันไม่ได้
               (incompatible goal) และ มีการแข่งขันหรือต่อสู้เอาชนะกัน หากขาดองค์ประกอบใด เช่น ไม่มีการแข่งขันหรือ
               ต่อสู้เอาชนะปรากฏการณ์นั้น ก็เป็นเพียงความเห็นต่าง (Differences) (บรรพต  ต้นธีรวงศ์, 2558, น.180) แม้ว่า

               ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นเป็นปกติในชีวิตประจ าวันของเรา แต่ความขัดแย้งที่ไม่ปกติคือความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเรื้อรัง
               Edward Azar (1990) เห็นว่าการจัดการกับความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเรื้อรัง (Protracted Conflicts) ที่เกิดความ
               สูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่สามารถใช้การจัดการความขัดแย้งทางการทหารที่เน้นยุติความขัดแย้งชั่วคราว โดย

               ปราศจากการเข้าไปจัดการกับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เช่น ความรู้สึกปลอดภัย อัตลักษณ์ การมีส่วน
               ร่วม ความเท่าเทียมกัน เป็นต้น (Edward, 1990, p.32.)

                         นอกจากนี้ความขัดแย้งยังสามารถอธิบายได้ใน 2 ความหมายหลัก  กล่าวคือ  ความหมายในเชิงบวก
               และความหมายในเชิงลบ ซึ่งการให้นิยามของความขัดแย้ง โดยส่วนใหญ่จะมีแนวโน้มเป็นไปในเชิงลบ ซึ่งหมายถึง
               ความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดผลเสีย และบรรยากาศที่ไม่ดีต่อตัวเอง องค์กรและสังคม  อันเป็นการสะท้อนรูปลักษณ์

               ของความขัดแย้งออกมาในมิติของความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการด่ากัน การทะเลาะวิวาท  ท าร้ายร่างกาย และท า
               สงครามประหัตประการซึ่งกันและกัน แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีนักวิชาการบางท่าน ได้ให้ความหมายในเชิงบวก
               ซึ่งหมายถึง  ความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดในเชิงสร้างสรรค์ และก่อให้เกิดผลดีต่อตัวเอง  องค์กร  และสังคมทั้งในแง่
               ของทัศนคติ และพฤติกรรม ในบางคราวเมื่อเกิดความขัดแย้งแล้ว ก็สามารถที่จะหาทางออกในเชิงสมานฉันท์

               (ชลากร เทียนส่องใจ, 2553, น.18)

               ประเภท/เหตุปัจจัยของความขัดแย้ง

                         การแบ่งประเภทของความขัดแย้งสามารถแบ่งได้หลายประเภท ในงานชิ้นนี้แบ่งความขัดแย้งเป็นความ
               ขัดแย้งภายในและความขัดแย้งภายนอก ประกอบด้วย
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26