Page 20 - 22813_Fulltext
P. 20
14
จัดตั้งสถาบันหรือองค์กรอิสระเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งและไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย มติ
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 มีสาระส าคัญ คือ
1. ปัจจุบันในสถาบันพระปกเกล้ามีศูนย์สันติวิธีที่ท าหน้าที่ในเรื่องนี้โดยจัดการฝึกอบรมหลักสูตรผู้น าเพื่อ
แก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล ในอนาคตอาจพัฒนาขึ้นเป็นคณะกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ หากมี
อัตราก าลังเพียงพอ อย่างไรดี ในเบื้องต้นอาจพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อด าเนินการในเรื่องนี้ไปพลางก่อน
โดยระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดินหรือโดยค าสั่งส านักนายกรัฐมนตรี
เช่นเดียวกับคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ และเมื่อมีความพร้อมแล้วจึงพัฒนาจัดตั้งเป็นองค์กรหรือสถาบันท า
หน้าที่ต่อไป
2. การจัดตั้งศูนย์สันติวิธีหรือศูนย์สันติศึกษาในมหาวิทยาลัยนั้น การก าหนดหลักสูตรในเรื่องนี้มี
ความส าคัญและต้องมีบุคลากรที่มีความรู้และความเข้าใจอย่างแท้จริง มิฉะนั้นแล้วการจัดการศึกษาอาจแตกต่าง
กันไปคนละทิศทางในแต่ละมหาวิทยาลัย ท าให้เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นในระยะแรกสถาบันพระปกเกล้าควร
เป็นศูนย์กลางในการด าเนินการและอาจด าเนินการหรือจัดหลักสูตรให้มหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมก่อน ใน
อนาคตก็อาจมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการด าเนินการต่อไป อย่างไรก็ดี การลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม
เป็นปัญหาส าคัญที่ควรได้รับการพิจารณาแก้ไขในภาคราชการเป็นเบื้องต้นก่อน จึงควรจัดให้มีการฝึกอบรม
หลักสูตรนี้เป็นภาคบังคับส าหรับนักบริหารระดับสูง เช่น วปอ. นบส. เป็นต้น นอกจากนี้ควรอบรมข้าราชการหรือ
ก าหนดให้การบริหารความขัดแย้งเป็นสมรรถนะหลักของบางต าแหน่งที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง
ด้วย เช่น ข้อราชการฝ่ายปกครอง และนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ด้วย
ในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนด้านสันติศึกษาในระดับอุดมศึกษามีทั้งมหาวิทยาลัยทั้งมหาวิทยาลัย
ของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชน ได้ให้ความส าคัญต่อการจัดการเรียนการสอนวิชาสันติศึกษา (Peace Studies)
ในระดับปริญญาตรี เช่น รายวิชาสันติศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรายวิชามนุษย์กับ
สันติภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช รายวิชาการ
เปลี่ยนแปลงความขัดแย้งโดยสันติวิธี และรายวิชาสังคม สงคราม และสันติ มหาวิทยาลัยมหิดล รายวิชาการ
จัดการความขัดแย้งในชีวิตประจ าวัน สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ รายวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รายวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยอิสลาม ยะลา นอกจากนี้ยังมีรายวิชาที่สอดแทรกเนื้อหาทางด้านสันติศึกษา การ
เปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง การจัดการความขัดแย้ง และการลดความขัดแย้งในรายวิชาต่าง ๆ ทุกระดับการศึกษา
ทั้งระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก รวมทั้งมีการจัดตั้งหน่วยงานสันติวิธี เพื่อส่งเสริมและ
สนับสนุนการจัดการความขัดแย้ง การลดความขัดแย้งเพื่อสร้างสันติวิธีแก่สังคมและประเทศชาติ เช่น ศูนย์ศึกษา
ความขัดแย้งและสันติภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
(เกิดจากการรวมกันของศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธีกับศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนา) ศูนย์ข่าวสาร
สันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส านักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า สถาบัน
สันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์สันติวิธี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เป็นต้น (สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์,
2557)