Page 19 - 22813_Fulltext
P. 19
13
ผ่านทางสื่อออนไลน์มีเป็นจ านวนมาก อันส่งผลให้เกิดการใช้ความรุนแรงในระดับต่างๆ เกิดขึ้น กลุ่มเยาวชน
มากกว่าร้อยละ 50 มีพฤติกรรมกลั่นแกล้งผ่านโลกไซเบอร์และคุกคามผู้อื่นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีทั้งไม่ใช้ค าพูด
เช่น ภาพนิ่ง และใช้ค าพูดที่เป็นข้อความแสดงความคิดเห็น (สุดารัตน์ รัตนพงษ์, 2564)
ความรุนแรงในสถานศึกษา มีงานวิจัยหลายชิ้น ที่มีข้อมูลน่าสนใจเช่น สมบัติ ตาปัญญา ส ารวจข้อมูลสถิติ
การรังแก จากเด็กประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใน 8 จังหวัดกระจายทุกภูมิภาค ในช่วงปี 2549 พบว่า
นักเรียนกว่า 40% เคยถูกรังแกปีละ 2-3 ครั้ง การรังแกกันในหมู่เพื่อนเกิดมากที่สุด ในชั้นป 4 และลดลงตาม
ระดับชั้นที่สูงขึ้น พฤติกรรมที่คล้ายกันทุกภาคคือ ท าร้ายจิตใจด้วยวาจา ล้อเลียนเหยียดหยามเชื่อชาติผิวพรรณ
และพบการคุกคามทางเพศ นอกจากนั้นในภาคตะวันออกยังมีการแย่งเงินและของใช้ สถานที่เกิดความรุนแรง 5
อันดับประกอบด้วยในห้องเรียนเวลาครูไม่อยู่ ทางเดินหน้าห้อง บันไดสนามโรงอาหารและในห้องเรียนต่อหน้าครู
(ศศิรัศม์ วีระไวทยะ, 2554)
กล่าวอย่างเจาะจงจากสถานการณ์การทะเลาะวิวาทกันของนักเรียนอาชีวะในภาพรวมซึ่งมีความเข้มข้น
เกิดขึ้นมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละช่วง กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ได้พยายามหาแนวทาง
และมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง เช่น ในช่วงปี พ.ศ.2552 กระทรวงศึกษาธิการได้ก าหนดแนวปฏิบัติในการ
ป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาทและท าร้ายร่างกายกันของนักเรียนนักศึกษา 10 ข้อคือ (ชุลีกร ภูบุญเจริญไทย,
2552) สรุปได้ว่า 1) ใช้มาตรการทางกฎหมายกรณีนักเรียน นักศึกษา บุคลากร อาจารย์ที่กระท าผิดร้ายแรง 2)
สถาบัน สถานศึกษา หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ต้องก าหนดแผนและวิธีการป้องกันการก่อเหตุ ตลอดจน
การช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ประสบเหตุ 3) ให้สถาบัน สถานศึกษา สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ
หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ศิษย์เก่า ผู้ปกครองและนักเรียน นักศึกษาปัจจุบัน เพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม ความ
เชื่อ ค่านิยม ในเชิงสร้างสรรค์ 4) สถาบัน สถานศึกษา ให้ความร่วมมือพนักงานเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต ารวจเข้าไป
นิเทศตรวจเยี่ยม รวมถึง ตรวจสอบบุคคลและรถทุกชนิดที่เข้า-ออก เพื่อป้องกันเหตุ 5)ให้มีการส ารวจพื้นที่ที่มัก
เกิดปัญหา จัดให้มีหน่วยเคลื่อนที่เร็ว เพื่อเข้าระงับเหตุ 6) สถาบัน สถานศึกษา จัดกิจกรรมร่วมกัน ด้วย
กระบวนการเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมจิตอาสา การสร้างความสมานฉันท์และความสามัคคี เพื่อละลายพฤติกรรม
และแก้ปัญหาในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง 7) ให้สถาบัน สถานศึกษา ส ารวจ เฝ้าระวัง และติดตามนักเรียน นักศึกษา
ที่เสี่ยงต่อการกระท าผิดเพื่อจัดกิจกรรมในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นระบบอย่างต่อเนื่อง 8)
องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ สถาบัน สถานที่ศึกษาให้จัดให้มีระบบการติดตาม ดูแลความประพฤติ
นักเรียน นักศึกษา มีศูนย์รายงานและแก้ไขเหตุการณ์โดยเร่งด่วนและ
จากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระดับต่างๆของสถานศึกษา คณะรัฐมนตรีได้ตระหนักถึง
ความส าคัญดังกล่าว โดยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2548 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งศูนย์
สันติวิธีขึ้นในสถานศึกษา คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาผลการสัมมนาของสถาบันพระปกเกล้า เรื่อง”รัฐบาลใหม่กับ
การจัดการความขัดแย้งในสังคม” ซึ่งมีข้อเสนอเพื่อพิจารณารวม 2 ประการ คือ 1) การจัดตั้งศูนย์สันติวิธีหรือศูนย์
สันติศึกษาขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อบรรจุเรื่องการขจัดความขัดแย้งเป็นหลักสูตรหนึ่งของมหาวิทยาลัย และ 2)