Page 36 - kpi22228
P. 36
28
2.6.4 กลยุทธการตลาดเชิงประสบการณ
แนวคิดอีกแนวคิดหนึ่งที่แตกตางกันออกไปก็คือกลยุทธการตลาดเชิงประสบการณ (Experiential
Marketing) เปนหนึ่งในการตลาดสมัยใหมที่มุงเนนใหผูบริโภคไดสัมผัสประสบการณของการใชสินคา/บริการ
นั้น ๆ เพื่อใหคนไดรับรูและสัมผัสถึงคุณภาพของสินคา ซึ่งสงผลใหเกิดความภักดีตอตราสินคา (brand
loyalty) ไดในระยะเวลาตอมา ดวยเหตุนี้การทําการตลาดทางการเมืองในแนวคิดแบบนี้จึงพยายามใหผูมีสิทธิ
ออกเสียงเลือกตั้งเขามามีสวนรวมในประสบการณของพรรคการเมืองไมใชเปนเพียงผูรอผลที่เกิดขึ้นหรือวา
เปนผูใชผลิตภัณฑทางการเมืองเทานั้นแตเขามามีสวนรวมในการทําผลิตภัณฑทางการเมืองดวยเลย
2.7 รูปแบบของการตลาดการเมือง
จากที่ไดศึกษารูปแบบหลักของการตลาดการเมือง พบวาพรรคการเมืองนําเสนอตัวเองใน 3 รูปแบบ
ไดแก
2.7.1 พรรคการเมืองที่เนนผลิตภัณฑ
2.7.2 พรรคการเมืองที่เนนการขาย
2.7.3 พรรคการเมืองที่เนนตลาด
1) พรรคการเมืองที่เนนการสรางอนาคตรวมกัน
2) พรรคเมืองที่สรางตลาดเฉพาะทางหรือเฉพาะกลุม
2.7.1 พรรคการเมืองที่เนนผลิตภัณฑ (Sales-Oriented Party)
พรรคการเมืองที่เนนผลิตภัณฑจะเนนการออกแบบผลิตภัณฑ กลาวคือ ตัวผูนําพรรคคุณสมบัติ
ของนักการเมือง ซึ่งเปนที่ตองการของตลาด หรือสรางผลิตภัณฑทางนโยบายที่เชื่อวาตลาดตองการ
พรรคการเมืองที่เนนผลิตภัณฑ มีกระบวนการการตลาดการเมืองมุงเนนที่การวางตัวเองในฐานะ
ผลิตภัณฑ มีกระบวนการการตลาดการเมือง ดังนี้ พรรคการเมืองจะกําหนดพฤติการณที่สอดคลองกับ
ความเชื่อที่ตัวเองเชื่อวาดีที่สุดเปนสําคัญ จากนั้นจะสํารวจตลด เพื่อศึกษาพฤติกรรม ปฏิกิริยาของผูเลือกตั้ง
ที่มีปฏิกิริยาตอพรรค โดยระบุสัดสวนของผูมีสิทธิเลือกตั้งที่จะเลือกและไมเลือกพรรคของตน ทั้งนี้
จะมีแนวทางการสื่อสารตางกันในการเสนอตัวขอรับการสนับสนุนจากประชาชนผานการสื่อสารทางการเมือง
ถึงผลิตภัณฑที่ตัวเองมี ทั้งตอกลุมที่เลือกตัวเอง และกลุมที่ไมเลือก ขณะเดียวกันก็จะพยายามลดจุดออนของ
ตน ในการสื่อสารจะคํานึงถึงความเปนมืออาชีพเพื่อสรางแรงจูงใจใหกลุมที่ไมสนับสนุนพรรค หันมาสนับสนุน
พรรคของพวกเขาในที่สุด ในการรณรงคหาเสียงเพื่อชัยชนะในการเลือกตั้งก็พยายามปรับปรุงการสื่อสาร
ใหมีประสิทธิภาพ เมื่อไดชัยชนะในการเลือกตั้งสามารถเขาถึงตําแหนงไดแลวจึงสามารถสงมอบผลิตภัณฑคือ
ตัวนักการเมืองและนโยบายไดในที่สุด ดังแผนภาพขางลางนี้