Page 35 - kpi22228
P. 35

27



               ขาดแคลนอะไร แลวพัฒนานโยบายและเครื่องมือในการสื่อสารใหตรงกับความตองการของผูมีสิทธิออกเสียง

               เลือกตั้งใหไดมากที่สุด ในกรณีนี้ผูมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจึงเลือกตั้งเพราะตองการใหนโยบายที่ตัวเองตองการ
               ถูกนําเสนอและถูกนําออกมาใช

                       การทําการตลาดการเมืองในลักษณะนี้ประกอบไปดวย 4 มุมมองที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน 1) มุมมอง

               ดานคุณคา ความเชื่อ และพฤติกรรม 2) ใชเรื่องการรับรูทางการตลาด (market sensing) และความสามารถ
               ในการเชื่อมโยงกับผูบริโภค 3) กระบวนการคิดในทางยุทธศาสตรที่จะสรางคํามั่นสัญญากับลูกคา และ

               4) โครงสรางองคกร ระบบ และแรงจูงใจที่จะเอื้อใหเกิดกิจกรรมทั้งหมดในตลาด ซึ่งหมายความวาพรรค

               การเมืองจะตองพยายามออกแบบตราสินคาที่อยูบนพื้นฐานของความตองการของผูบริโภค บนพื้นฐาน
               เชิงประจักษ งาวิจัย และการหาขอมูลที่เปนจริง

                       การตลาดการเมืองในลักษณะนี้ไดรับการถกเถียงมากมายวามีความถูกตองจริงหรือไม เพราะ

               ในทางหนึ่งก็ไดมีการเปลี่ยนแปลงผูนําทางการเมืองใหมีความสัมพันธในลักษณะระนาบเดียวกันกับผูมีสิทธิ
               ออกเสียงเลือกตั้ง หรือเขาไปรับฟงความตองการของเขาและทํานโยบายของพรรคใหตรงใจผูมีสิทธิออกเสียง

               เลือกตั้ง ซึ่งก็มีประโยชนในแงของการเปดพื้นที่รับฟงความตองการของประชาชน แตอาจจะไมตรงกับ

               ความตองการผูนําทางการเมืองในแงที่วา ผูนําทางการเมืองควรจะเปนผูนําทางนโยบาย เปนผูตัดสินใจเลือก
               วิธีการหรือแนวทางที่ถูกตองเพื่อประโยชนของประเทศ



                       2.6.3 กลยุทธการตลาดทางการเมืองในฐานะความสัมพันธระยะยาว (relational political
               marketing)

                       การตลาดทางการเมืองยังมีเรื่องของยุทธศาสตรของความสัมพันธ ซึ่งหมายความถึงการใชวิธีการ

               ทางการตลาดในการสรางความสัมพันธระยะยาวในเชิงบวกระหวางผูมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งและผูนํา
               ทางการเมืองซึ่งจะชวยทําใหความสัมพันธระหวางผูมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งและผูนําทางการเมืองยั่งยืนแมวา

               จะอยูในชวงเวลาวิกฤตหรือความผิดพลาดใด ๆ ยังมีการฟงเสียงของผูมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งแตหัวใจสําคัญก็

               คือการพูดคุยกันอยางสม่ําเสมอ ซึ่งจะนําไปสูการสรางความเชื่อใจและเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
                       ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาป 2008 อานิตา ดันน (Anita Dunn) ซึ่งเปนที่ปรึกษา

               ดานกลยุทธในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ไดกลาวไวในการประชุมสมาคมรัฐศาสตรอเมริกันวา การตลาดทาง

               การเมืองไดเปลี่ยนแปลงไปจากสิ่งที่เรียกไดวาเปน  "นี่คือสิ่งที่ฉันนําเสนอตอคุณ" ไปเปน "เรามารวมทํางาน
               ดวยกันเพื่อที่จะสรางการเปลี่ยนแปลง" จะสังเกตวาในปจจุบันการตลาดทางการเมืองจะอยูในรูปแบบที่มี

               ความสัมพันธแบบแบนราบผูมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะรูสึกเปนเจาของและมีสวนรวมมากกวามองวาตัวเอง

               เปนเพียงผูบริโภค (consumer) ของผลิตภัณฑทางการเมือง
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40