Page 25 - kpi22228
P. 25

17



               2.4 พัฒนาการการใชการตลาดกับการแสวงหาความนิยมทางการเมือง

                       Newman (1994) ไดพูดถึงพัฒนาการการใชการตลาดกับการแสวงหาความนิยมทางการเมือง
               โดยการศึกษาจากการเมืองของสหรัฐอเมริกาไววา มีอยู 4 ระดับดวยกัน จากระดับขององคกรที่ทํางานโดย

               หัวหนาพรรค (party bosses) หรือแนวคิดพรรคการเมือง (party concept) ไปสูการเปลี่ยนแปลงสูองคกร

               ที่มีเปาหมายเพียงหนึ่งเดียว คือการหาตัวเลือกที่เหมาะสมเพื่อเปนตัวแทนของพรรคการเมืองในการลงสมัคร
               รับเลือกตั้ง หรือแนวคิดผลิตภัณฑ (product concept) ไปถึงการที่องคกรไดเปลี่ยนแปลงจากการถูกผลักดัน

               จากภายในพรรคไปเปนการถูกผลักดันโดยภายนอกพรรค เชนการใหความสําคัญกับการตอบสนองของผูมีสิทธิ

               ออกเสียงเลือกตั้งที่มีตอผูลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือแนวคิดการขาย (selling concept) และไปสูการเปนองคกร
               ที่ทํางานโดยผูเชี่ยวชาญดานการตลาดเปนแนวคิดทางการตลาด (the marketing concept) ซึ่งในระดับนี้

               พรรคการเมืองจะตองทราบความตองการของผูมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และพัฒนาชองทางทางการเมืองที่จะ

               ทําใหสิ่งที่ผูมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งตองการบรรลุผลสําเร็จได ดังตอไปนี้
                       แนวคิดพรรคการเมือง (party concept) แนวคิดพรรคการเมืองเปนแนวคิดที่มุงเนนที่ภายในพรรค

               การเมืองเอง ซึ่งหมายถึงการทํางานโดยอาศัยขอมูลที่มาจากผูคนที่อยูภายในองคกร และทํางานโดยผูนําของ

               พรรคที่มีเปาหมายแหงความจงรักภักดีอยูที่พรรคการเมือง ผูลงสมัครรับเลือกตั้งตองเชื่อฟงหัวหนาพรรค
               เพื่อที่จะไดรับเลือกใหเปนผูสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรค แนวคิดพรรคการเมืองนี้เปนแนวคิดที่ใชในหลาย

               ประเทศ เชนในประเทศอดีตคอมมิวนิสตในยุโรปตะวันออก ซึ่งหากผูลงสมัครรับเลือกตั้งมีบุคลิกหรือแนวคิดที่

               ผิดแผกไปจากกรรมการบริหารพรรคหรือบุคลิกของพรรคการเมือง ก็มีแนวโนมที่เขาจะไมไดรับเลือกใหเปน
               ตัวแทนในนามพรรคอีกตอไป

                       Busby (2009) ไดวิเคราะหอัตลักษณทางการเมืองและสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมเกิดขึ้นกอนยุค

               สื่อสารและการสื่อสารมวลชนในประเทศสหรัฐอเมริกา ไววา ความสําคัญของการทําการตลาดทางการเมืองใน
               ยุคนี้อยูที่ความพยายามที่จะสรางภาพลักษณของผูนําทางการเมืองในทุก ๆ เรื่อง ไมเพียงเฉพาะหนาตาและ

               การแตงกายเทานั้น แตยังรวมถึงภาพลักษณในพื้นที่สวนตัว ซึ่งหมายถึงประวัติทางการเมือง ชีวิตครอบครัว

               ซึ่งโดยสวนใหญจะเปนการกลาวถึงชีวิตของผูนําทางการเมืองที่เปนชนชั้นนําในสังคม มีความร่ํารวย
               เปนตัวแทนที่มีความแตกตางจากคนธรรมดาที่เปนคนสวนใหญในสังคมซึ่งเปนผูมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

               (Busby, 2009: 40-41)

                       การหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีไอเซนฮาวรในป ค.ศ. 1956 เปนกรณีตัวอยางที่นาสนใจของแนวคิด
               พรรคการเมือง ซึ่งความสําคัญของการทําการตลาดทางการเมืองในยุคนี้อยูที่ความพยายามที่จะสราง

               ภาพลักษณของผูนําทางการเมืองในทุก ๆ เรื่อง ไมเพียงเฉพาะหนาตาและการแตงกายเทานั้น แตยังรวมถึง

               ภาพลักษณในพื้นที่สวนตัว ซึ่งหมายถึงประวัติทางการเมือง ชีวิตครอบครัว ซึ่งโดยสวนใหญจะเปนการกลาวถึง
               ชีวิตของผูนําทางการเมืองที่เปนชนชั้นนําในสังคม มีความร่ํารวย เปนตัวแทนที่มีความแตกตางจากคนธรรมดา

               ที่เปนคนสวนใหญในสังคมซึ่งเปนผูมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง  (Busby, 2009: 40-41) และมีความ

               สอดคลองกับลักษณะของพรรครีพับริกัน ซึ่งเปนพรรคในแนวอนุรักษนิยมและเปนพรรคของคนชั้นนําในสังคม
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30