Page 24 - kpi22228
P. 24

16



                       ประการที่สอง ในการซื้อสินคาและบริการนั้น ลูกคาจะทราบกอนถึงราคาและคุณคาที่จะไดจากการ

               ซื้อสินคาคอนขางแนนอน แตการเลือกตั้งนั้น ผูมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไมสามารถทราบไดวา
               การเลือกตั้งของตนทําใหเกิดคาเสียโอกาสเทาใด หรือจะไดผลตอบแทนเปนมูลคาเทาใดกลับมา ดังนั้น

               การตัดสินใจเลือกผูลงสมัครรับเลือกตั้งแตละครั้งก็เปนผลที่มาจากการวิเคราะหและคาดการณผลที่จะเกิดขึ้น

               จากการตัดสินใจดังกลาว
                       ประการที่สาม ผูมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทราบวา ตัวเลือกที่ไดรับมาเปนตัวเลือกของสวนรวม

               และตองยอมรับผลขั้นสุดทาย แมวาผลนั้นจะไมตรงกับการเลือกของตนเองก็ได เชนการที่ผูมีสิทธิลงคะแนน

               เสียงเลือกตั้งไปเลือกผูสมัครคนที่ 1 แตผูสมัครที่ตนเองเลือกกลับไมไดคะแนนเสียงขางมาก การที่ตนเองเลือก
               ผูสมัครคนที่ 1 นั้นไปหมายความวาตนเองจะไมไดรับการใหบริการ หรือคําสัญญาที่ผูสมัครคนที่ 1 นั้น

               ไดมาสัญญาไวกอนหนานี้ การเลือกของผูบริโภคจึงไมอาจจะนํามาซึ่งสินคาและบริการสุดทายที่ตนเองไดรับ

               ในที่สุดก็ได
                       ประการที่สี่  ในระบบการเลือกตั้งแบบเสียงขางมากแบบธรรมดา อาจจะนํามาซึ่งการผูกขาด

               ทางการตลาด (monopoly) ซึ่งในกรณีนี้ก็อาจจะนําไปสูระบบพรรคการเมืองแบบพรรคเดนพรรคเดียว

               ในหลายประเทศ
                       ประการที่หา พรรคการเมือง หรือผูลงสมัครรับเลือกตั้งมีความแตกตางจากผลิตภัณฑหรือบริการ

               ตรงที่วา เปนสินคาที่ผูมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไมอาจจะมองเห็นสวนประกอบภายในไดทั้งหมด

               นอกจากนี้หากผูมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมองวาตัวแทนหรือผูสมัครที่ตนเลือกไปไมไดเปนตัวแทนของตน
               ไดเต็มที่หรือตรงความตองการของตนเอง ผูมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอาจจะตองอาศัยระยะเวลาที่ยาวนาน

               กวาจะไดเลือกตั้งใหม ซึ่งอาจจะหมายถึงชวงระยะเวลาในวาระทางการเมืองที่ยาวนาน

                       ประการที่หก การสรางตราสินคา หรือแบรนดทางการเมืองใหมเปนที่ยอมรับไดยาก และอาจจะตอง
               ใชเวลายาวนานเกินไป แตปจจุบันนี้สื่อโซเชียลมีเดีย ไดทําใหการสรางแบรนดทางการเมืองใหมไมไดยาก

               เหมือนในอดีตแลว

                       ประการที่เจ็ด ผูนําของแบรนดอาจจะอยูเปนผูนําทางการตลาดเปนระยะเวลานาน แตในกรณีของ
               การตลาดทางการเมือง หากพรรคการเมืองใดที่ทําการตลาดไมดี หรือทําใหผูมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

               ผิดหวัง อาจจะไดรับเสียงสะทอนมาเปนความไมไววางใจ หรือคะแนนการสํารวจความคิดเห็นที่ลดต่ําลง

               นอกจากนี้ Newman (1994) ไดมองวา ในขณะที่บริษัทหนึ่ง ๆ  ตองการขายสินคาและบริการเทานั้น
               แตพรรคการเมืองมีเปาหมายที่ไปไกลกวานั้น หลัก ๆ แลวก็คือการสรางความเขมแข็งของระบอบ

               ประชาธิปไตยผานกระบวนการการเลือกตั้ง

                       จะเห็นไดวา มีความคลายคลึงในบางประการ และมีความแตกตางในรายละเอียดอยูพอสมควร
               สําหรับการตลาดโดยทั่วไป กับการตลาดทางการเมือง จึงเปนที่นาสนใจที่จะศึกษาการตลาดทางการเมืองให

               เปนศาสตรสาขาหนึ่งที่มีความนาสนใจในการพัฒนาประชาธิปไตย
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29