Page 20 - kpi22228
P. 20
12
การตลาดทางการเมืองเปนการตลาดที่ทันสมัยและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เกี่ยวของ
กับพฤติกรรมทางการเมือง ยุทธศาสตรทางการเมือง ซึ่งเกี่ยวของกับอุดมการณทางการเมือง ภาวะผูนํา
การเปนพลเมือง จริยธรรมทางการเมือง เมื่อเราทําการศึกษาการตลาดทางการเมืองแลวจึงตองกําหนด
ชวงเวลา พื้นที่ และตัวแสดงใหชัดวากําลังพูดถึงอะไรและในสมัยใด เพราะการตลาดทางการเมืองมี
การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งที่ทําใหพรรคการเมืองหนึ่งประสบความสําเร็จในการเลือกตั้งครั้งหนึ่งอาจจะ
ไมใชสิ่งที่ทําใหพรรคการเมืองนั้นประสบความสําเร็จในการเลือกตั้งครั้งตอไป หรืออาจะไมใชพรรคการเมือง
อื่นประสบความสําเร็จในการเลือกตั้งครั้งเดียวกัน
สวนหนึ่งของการทําหนาที่เปนนักการเมืองก็คือ จะตองเปนคนขายความหวัง ทําใหคนเชื่อมั่น
ทั้งในทางดานความมั่นคง เสถียรภาพทางสังคม การเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งความหวังที่จะขายไดคือความหวัง
ที่มาจากความตองการของประชาชน เพราะเหตุนี้การทําการคนหาความหวังของประชาชนจึงตองใชเครื่องมือ
ทางวิทยาศาสตรตองมีการวิจัย มีขอมูล เพื่อสรางกระบวนการทางการตลาด เพื่อเชื่อมคําพูด การกระทํา
และวิสัยทัศนเขาดวยกันในการเปลี่ยนแปลงความหวังและความตั้งใจใหกลายเปนสิ่งที่สัมผัสไดและเปนจริง
อยางไรก็ดีในการดําเนินการตลาดทางการเมืองนั้น มีความทาทายอยูบางประการ ซึ่ง Stephen
Dann, Phil และ Harris, 2007 (Cwalina, Falkowski, & Newman, 2011: 7) ไดกลาวไววา ประการแรก
จะตองเปลี่ยนการตลาดทางการเมืองใหไปเปนวิทยาศาสตร มีการนําหลักการทางวิทยาศาสตร การศึกษาวิจัย
ทางวิทยาศาสตร และใชฐานขอมูลที่เชื่อถือไดมาสรางเปนวิสัยทัศนหรือขอมูลเพื่อกระบวนการทางการตลาด
ทางการเมือง ประการที่สองคือ การตลาดทางการเมืองมีความจําเปนที่จะตองไดรับการปรับปรุงขอมูล
ใหทันสมัย แนวทางการทําวิจัยของนักการตลาดและนักวิชาการก็คือ การทดสอบความเปนไปไดในการนําไปใช
ของหลักการในบริบทของระบบการเมืองทองถิ่น เพื่อที่จะทราบถึงสาเหตุและผลลัพธของยุทธศาสตรและ
การรณรงคหาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งกระบวนการนี้มีความจําเปนที่จะนําไปสูการสรางแนวคิดทฤษฎีทั่วไป
ของการตลาดทางการเมือง และประการที่สาม เราตองใหคําจํากัดความระหวางความสัมพันธระหวาง
การตลาดทางการเมือง การล็อบบี้ และรัฐบาล และประการสุดทายคือ แนวคิดทฤษฎีในเรื่องการตลาดทาง
การเมืองตองมีการวิเคราะหการเปลี่ยนแปลงเพื่อใหเขากับยุคสมัยของประชาธิปไตยสมัยใหม โดยเฉพาะอยาง
ยิ่งการลดลงของการการมีสวนรวมของประชาชนซึ่งทําใหพลเมืองกลายเปนเพียงผูสังเกตการณ
ในการศึกษาเรื่องการตลาดทางการเมืองระยะแรก ๆ นั้น นักวิชาการรุนบุกเบิกการตลาดการเมือง
ไดความพยายามเชื่อมโยงการตลาดทางการเมืองเขากับการตลาด (เชน Farrell and Wortmann, 1987;
Kotler, 1975 และ Niffenegger, 1988; Shama 1975 อางใน (Cwalina, Falkowski, & Newman, 2011:
8) ซึ่งใหความจํากัดความแบบนี้ตั้งอยูบนสมมติฐานวา นาจะเปนความผิดพลาดมากที่จะคิดวาการหาเสียง
เลือกตั้งมีความเปนการทําการตลาดแคเพียงในชวงไมกี่ปที่ผานมา เพราะการรณรงคหาเสียงเลือกตั้งไมวาจะ
เปนชวงเวลาใด ก็คือการทําการตลาดนั่นเอง และเพิ่มขึ้นในปจจุบันจากการใชกระบวนการทางการตลาด
ที่สลับซับซอนและรวดเร็วมากขึ้นเทานั้น (Kotler, 1975; Kotler and Kotler, 1975 (อางใน Cwalina,
Falkowski, & Newman, 2011: 8)