Page 164 - kpi22228
P. 164

156





                                                         บทที่ 5

                                                          สรุป



                       ในบทนี้จะไดสรุปภาพรวมของรายงานวิจัยและขอคนพบจากการศึกษา เพื่อใหเห็นภาพรวมของ
               การตลาดการเมือง จากมุมมองทางทฤษฎี พัฒนาการการการตลาดการเมืองไทย และขอคนพบจากการวิจัย

               ตามลําดับ


               5.1 มุมมองทางทฤษฎีการตลาดการเมืองตอการเมือง

                       ในสวนที่วาดวยทฤษฎี ผูวิจัยไดกลาวมาแลววาในการดําเนินการทางการเมืองโดยใชแนวทางตลาด
               ทางการเมืองนั้น นักวิชาการดานการตลาดการเมือง เชน Stephen Dann, Phil และ Harris, 2007 (อางจาก

               Cwalina, Falkowski & Newman, 2011, 7) ไดชี้ใหเห็นความทาทาย 4 ประการ คือ

                       ประการแรก ในการศึกษาการตลาดการเมืองนั้นไดเปลี่ยนการตลาดทางการเมืองใหไปเปน
               วิทยาศาสตร หรือมีการนําหลักการทางวิทยาศาสตร การศึกษาวิจัย และพัฒนาฐานขอมูลที่เชื่อถือไดเพื่อสราง

               เปนวิสัยทัศนหรือขอมูลเพื่อกระบวนการทางการตลาดทางการเมือง

                       ประการที่สอง นักวิชาการ เชน Stephen Dann, Phil และ Harris (2007) เห็นวามีความจําเปน
               ที่จะตองปรับปรุงขอมูลที่ไดจากการสํารวจและวิจัยใหทันสมัย เพื่อนําไปทดสอบความเปนไปไดในการนําไปใช

               ของหลักการในบริบทของระบบการเมืองทองถิ่น ศึกษาสาเหตุและผลลัพธของยุทธศาสตร และแนวทาง

               การรณรงคหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อทําใหการวิเคราะหการตลาดการเมืองและผลของการใชแนวทางดังกลาวจะ
               เปนประโยชนอยางไร

                       ประการที่สาม ในฐานะนักวิชาการ เราตองทําความเขาใจการเมืองที่รอบดานมากขึ้น โดยการให

               คําจํากัดความระหวางความสัมพันธระหวางการตลาดทางการเมือง การล็อบบี้ และรัฐบาล เพราะการเมืองที่
               แทจริงนั้นดําเนินไปอยูในหลายระดับ ไมใชเพียงการผลิตสินคา ผลิตภัณฑทางการเมือง ไดแกนักการเมืองและ

               นโยบาย แตเรายังตองยังตองเชื่อมการสื่อสารทางการเมืองและการตอรองทางการเมืองไปพรอม ๆ กันกับ

               ประสิทธิภาพการดําเนินนโยบายเพื่อสงมอบผลิตภัณฑที่แทจริงใหกับประชาชนผูเลือกตั้ง
                       ประการสุดทาย Stephen Dann, Phil และ Harris (2007) ย้ําวาแนวคิดและทฤษฎีในเรื่องการตลาด

               ทางการเมืองตองมีการวิเคราะหการเปลี่ยนแปลงเพื่อใหเขากับยุคสมัยของประชาธิปไตยสมัยใหม โดยเฉพาะ

               อยางยิ่งการลดลงของการการมีสวนรวมของประชาชน ซึ่งหากมุงเฉพาะการตลาดการเมืองแลว อาจจะทําให
               การเมืองเปลี่ยนพลเมืองใหกลายเปนเพียงผูสังเกตการณเทานั้น

                       การตลาดทางการเมืองในดานหนึ่งก็คือการเปลี่ยนจากการที่พรรคการเมืองทํางานโดยอุดมการณของ

               พรรคการเมือง มาเปนการที่พรรคการเมืองทํางานโดยอุดมการณของผูมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งเปน
               การเปลี่ยนศูนยกลางของกระบวนการทํางาน จากผูขาย หรือผลิตภัณฑทางการเมือง มาสูการวางผูบริโภคหรือ

               ผูใชสิทธิลงคะแนนเสียงเปนหัวใจของการเมือง
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169