Page 166 - kpi22228
P. 166
158
หลังรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ 2534 คณะรัฐประหาร รสช. สืบทอดอํานาจโดยการสรางพรรค
สามัคคีธรรม ในทํานองเดียวกับที่ จอมพลถนอมไดกระทํามา แตไมประสบชัยชนะเด็ดขาด ทําใหตองอาศัย
พรรคการเมืองอื่นรวมรัฐบาล เมื่อหัวหนาคณะรัฐประหารตองมาดํารงตําแหนงนายกรัฐมนตรีเอง จึงทําใหเกิด
การตอตานอยางแข็งขันและนองเลือด
หลังเหตุการณพฤษภาคม 2535 บรรดาพรรคการมืองที่เคยรวมรัฐบาลถูกติดฉลากวาเปนพรรคมาร
สวนพรรคการเมืองที่สนับสนุนฝายประชาธิปไตยจะถูกจัดใหอยูฝายพรรคเทพ การแบงขั้วพรรคเทพ-มาร
ดังกลาวสงผลตอการเลือกตั้ง อยางนาสนใจ แตมีขอเรียกรองใหมีการปฏิรูปการเมืองโดยการรางรัฐธรรมนูญ
ใหม โดยการแกไขรัฐธรรมนูญมาตรา 211 ใหมีสภารางรัฐธรรมนูญจากการเลือกตั้ง และเปลี่ยนกติกาทาง
การเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม
รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 จึงเปนผลพวงของความพยายามแกปญหา
ทางการเมืองไทย ในรอบหลายทศวรรษที่ผานมา ไดแก ปญหาเสถียรภาพของรัฐบาลผสม การแทรกแซง
ทางการเมืองของกองทัพ การควบคุมและตรวจสอบนักการเมืองและขาราชการระดับสูง ประสิทธิภาพ
การบริหารราชการแผนดิน ทําใหการออกแบบรัฐธรรมนูญมีความโนมเอียงไปสูการออกแบบใหเกิดพรรค
การเมืองขนาดใหญที่สามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได พรอมกับการสรางระบบตรวจสอบการทํางานภาครัฐ
ในแงนี้การแขงขันระหวางพรรคการเมืองจึงเปนชองทางเดียวที่จะเขาไปใชอํานาจการเมือง
ในการบริหารราชการแผนดิน ซึ่งพรรคไทยรักไทยใชนโยบายเปนผลิตภัณฑทางการเมือง การมีผูนําพรรคที่มี
ภาพลักษณเปนนักบริหาร ทําใหพรรคไทยรักไทยเปนผลิตภัณฑทางการเมืองดวย ประกอบกับการใชกลยุทธ
ทางการตลาดอยางตระหนักรู ทําใหพรรคไทยรักไทยประสบความสําเร็จในการเลือกตั้ง แตพรรคไทยรักไทย
ก็ถูกกลาวหาเรื่องการทุจริตเชิงนโยบาย โดยเฉพาะนโยบายประชานิยม ในที่สุดก็เปนชองใหกองทัพ
เขาแทรกแซงทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง หลังจากถูกกันออกจากการเมืองหลังเหตุการณนองเลือดในป 2535
การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทําใหแนวคิดเรื่องการสรางผลิตภัณฑทางการเมืองผานนโยบาย
ตองลดลงอยางมีนัยสําคัญ ประกอบกับพรรคการเมืองอื่น ๆ ไมสามารถสรางความเชื่อมั่นในการดําเนิน
นโยบายในแบบกอนหนาได
ในอีกดานหนึ่ง รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แสดงความไมไววางใจฝายการเมือง
และลดอํานาจภาคการเมือง เพิ่มอํานาจภาคราชการอยางมีนัยสําคัญ การเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองที่สําคัญ
คือพรรคการเมืองมีความระมัดระวังในการดําเนินนโยบายมาก และรัฐบาลทุกชุดตางเผชิญกับวิกฤตการณ
ความชอบธรรม จนเกิดรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ทําใหการเมืองไทยยอนหลังไปสูการมีประชาธิปไตย
เพียงเศษเสี้ยวเมื่อเทียบกับทศวรรษ 2530 และ 2540
นอกจากนี้ รายงานวิจัยยังไดชี้ใหเห็นปญหาภาพลักษณของนักการเมืองในชวงเวลาตาง ๆ วาเปน
ภาพลักษณที่ประชาชนขาดความศรัทธา ทําใหฝายการเมืองมีความเสียเปรียบตั้งแตแรก และเปนหนาที่ของ
ฝายการเมืองที่จะตองสรางความศรัทธาตอพรรคการเมืองและนักการเมืองใหได