Page 168 - kpi22228
P. 168

160



               การตลาดการเมืองได และปจจัยดานการตลาดทางการเมืองนั้น ไมเพียงพอตอการสรางชัยชนะทางการเมือง

               ของพรรคเกาแก
                       ประการที่สอง พรรคการเมืองใหมอยางพลังประชารัฐ อาศัยผลิตภัณฑทางนโยบายของ

               คณะรัฐประหารคือนโยบายประชารัฐมาเปนชื่อพรรค เพื่อสรางความรับรูวาเปนพรรคของคณะรัฐประหารที่

               สามารถบริหารประเทศราบรื่นและมีความสงบ เปนพรรคที่มีฐานอํานาจรัฐ มีนักธุรกิจจากภาคเอกชนมา
               สนับสนุนและสรางความเชื่อมั่นจากภาคเอกชนได ทําใหฐานอํานาจและอิทธิพลของพรรคสามารถนําสมาชิก

               เขาสูสภาผูแทนราษฎร นับเปนแนวทางกพรรคการเมืองที่เนนขายแบบพรรคการเมืองยุคเกา

                       ประการที่สาม พรรคการเมืองใหมอยางพรรคอนาคตใหม เปนพรรคที่อยูในกลุมพรรคการเมืองที่เนน
               อนาคต พรรคที่เนนการตลาดอนาคต จะมีกระบวนการสรางพรรคแบบสรางอนาคตรวมกัน (co-creating

               future)

                       พรรคอนาคตใหมใชการวางรากฐานระบบอาสาสมัครและการใชสื่อโซเชียลมีเดียทําใหพรรคอนาคต
               ใหมทั้งผูนํา ผูสมัครและผูสนับสนุนเขาถึงกลุมผูใชสิทธิเปนครั้งแรก (first-time voters) ได นอกจากนี้

               การสรางบุคลิกภาพของผูนําพรรคที่กลายมาเปน “ไตรเทพ” และหัวหนาพรรคแบบผูนําเหนือชั้น

               (hyperleader) ยิ่งทําใหฐานความนิยมที่มีตอหัวหนาพรรคแผมายังผูสมัครของพรรคได
                       พรรคอนาคตใหมยังสามารถสรางฐานแบบธรรมชาติ (organic) โดยใชกระแสความนิยมจากกลุมผูใช

               สิทธิเปนครั้งแรกและกลุมที่มีวิถีชีวิตแบบดิจิทัล ใชสื่อ social media จนเปนกิจวัตรและวิถีชีวิตปกติ ยิ่งทําให

               ฐานของพรรคขยายตัวอยางกวางขวาง ประกอบกับแรงกดดันทางการเมือง ความไมพอใจทางการเมืองตอ
               การบริหารราชการแผนดินของคณะรัฐประหารก็มีสวนสําคัญใหพรรคอนาคตใหมไดรับคะแนนสนับสนุน

                       ประการที่สี่ พรรคการเมืองที่ประเมินวาจะเนนตลาดเฉพาะ เชน พรรครวมพลังประชาชาติไทยที่มี

               ฐานเสียงสําคัญคือบรรดาผูที่เคยสนับสนุน กปปส. กลับไมสามารถสรางพรรคในฐานะผลิตภัณฑทางการเมือง
               กปปส. ทําใหกลายเปนพรรคที่เนนการขาย ขณะเดียวกันก็ไมสามารถเชิดชูหัวหนาพรรคได เพราะพรรค

               ประกาศตัวสนับสนุน พล.อ. ประยุทธ จันทรโอชาเปนนายกรัฐมนตรี แตการยึดโยงกับสุเทพ เทือกสุบรรณ

               ยิ่งทําใหพรรครวมพลังประชาชาติไทยตกอยูในความลาหลังและอาศัยฐานเสียงแบบอนุรักษนิยม
                       ประการที่หา มีพรรคการเมืองที่เนนผลิตภัณฑในเชิงนโยบาย เชน พรรคเศรษฐกิจใหมที่มีแนวทาง

               การขายผลิตภัณฑดานเศรษฐกิจจนจับใจคนหนุมสาว และสามารถเขาสูสภาผูแทนราษฎรในฐานะพรรค

               การเมืองแบบการตลาดเฉพาะ
                       ประการที่หก ผลของกติกาการเลือกตั้งและสูตรการคํานวณ ทําใหพรรคการเมืองที่เคยถูกเรียกวาเปน

               พรรคต่ําสิบ คือพรรคที่มี ส.ส. นอยกวาสิบคนและพรรคที่มีระดับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อแตไมมี

               ผูแทนราษฎรในระบบเขตเลือกตั้งเลย เขามาสูสภาไดจํานวนมากถึง 14 พรรค
                       ประการที่เจ็ด จากการศึกษาพบวาแนวทางการตลาดการเมืองที่พรรคตาง ๆ ใชในการเลือกตั้งมีสาม

               รูปแบบไดแก  พรรคการเมืองที่เนนการขาย (พรรคพลังประชารัฐ พรรครวมพลังประชาชาติไทย) พรรค
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173