Page 115 - kpi22228
P. 115

107



                       ซึ่งพรรคไทยรักไทยไดวางแผนบริหารการรณรงคโดยแบงหวงเวลาของการรณรงคออกเปนสี่ระยะ

               คือ
                       ระยะที่หนึ่ง เสนอแคมเปญ “เอาชนะความยากจน ไมเอาชนะทางการเมือง” เปนแคมเปญชิงเปดเกม

               รุกกอนพรรคอื่น ๆ ในการเลือกตั้ง โดยเริ่มรณรงคในชวงเดือนกรกฎาคม 2547

                       ระยะที่สอง เสนอการเริ่มตน (kick off) การหาเสียง พรอมกับประชุมสมาชิกทั่วประเทศเพื่อเปดเวที
               รณรงคหาเสียงอยางเปนทางการชวงเดือนตุลาคม 2547

                       ระยะที่สาม ชวงมีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง เสนอการรณรงคใตหัวขอ “โอกาส คือ อนาคต” เสนอ

               นโยบายที่สรางโอกาสใหกับประชาชนใน 5 ดาน
                       ระยะที่สี่ ชวงสุดโคงสุดทายของการเลือกตั้ง ชูผูนําพรรคสูการบริหารประเทศตอเนื่องดวยแคมเปญ

               “หนึ่งเสียงของทาน เลือกทักษิณมาทํางาน”

                       สวนการทําการวิจัยหยั่งเสียง (Poll) นับเปนเครื่องมือที่พรรคใชอยูตลอดเวลา มีหนวยงานที่ดําเนิน
               กิจกรรมดานการวิจัยประจําอยูทําการวิจัยทุกดาน ทั้งการวิจัยนโยบาย การสํารวจทัศนคติ (โพล) โดยพรรค

               จะทําการวิจัยในหลายระดับ ทั้งระดับกวางทั่วประเทศ ระดับพื้นที่ ระดับภาค ระดับเขตเลือกตั้ง  นอกจาก

               พรรคจะทําวิจัยแลว ประธานภาคที่ดูแล ส.ส. แตละภาคก็ทําโพลสํารวจระดับภาค และ ส.ส. ก็มีโพลสํารวจ
               ความนิยมสวนตัวอีกดวย (นันทนา นันทวโรภาส 2548, 201-205)

                       ดานการจัดองคกรและการควบคุมการรณรงค พรรคไทยรักไทยมีการจัดโครงสรางการรณรงคแบบ

               กระจายเครือขายตามภารกิจ ไมใชการจัดตามลําดับขั้น มีหัวหนาสํานักงานเลขาธิการเปนผูประสานงาน
               รวมทั้งหมด มีบทบาทในการจัดการรณรงคใหเปนรูปธรรมชัดเจนตามขอสรุปของที่ประชุมคณะกรรมการ

               อํานวยการเลือกตั้ง ที่มีหัวหนาพรรคเปนประธาน

                       นอกจากนี้พบวาพรรคไทยรักไทยเปนพรรคการเมืองที่ใชกลยุทธการเมืองนําการสื่อสาร เลือกใช
               เทคโนโลยีอยางเหมาะสม กอใหเกิดประโยชนสูงสุดตอการรณรงคหาเสียงเลือกตั้ง ใชยุทธศาสตรการสรางฐาน

               สมาชิกผานเครือขายลูกโซ สรางความสําเร็จในการเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครกําหนดนโยบายเฉพาะที่

               ตอบสนองชนชั้นกลางในเมือง สวนความลมเหลวในการเลือกตั้งที่ภาคใตก็เพราะความจงรักภักดีผูกพันของคน
               ใตกับพรรคประชาธิปตยและเกิดจากการที่พรรคไทยรักไทยไมสามารถสรางความเปนหนึ่งเดียวกับผูเลือกตั้งได

                       นอกเหนือจากบริบททางดานการเมืองสังคมเศรษฐกิจ นันทนา นันทวโรภาส (2548) ยังชี้วาปจจัยที่มี

               ผลตอการรณรงคหาเสียงเลือกตั้งตามกรอบแนวคิดเรื่องการตลาดการเมือง (Political Marketing) ของ
               Newman ยังมีอีกสามประการคือ

                       1. การเปลี่ยนแปลงทางดานเทคโนโลยี ความกาวหนาทางดานเทคโนโลยีมีผลตอการรณรงคการใช

               เทคโนโลยีใหม ๆ เขามาประยุกตในการรณรงคหาเสียงเลือกตั้ง (นันทนา นันทวโรภาส 2548, 222)
                       2. การเปลี่ยนแปลงโครงสรางทางการเมือง การผลักดันใหเกิดการรางรัฐธรรมนูญฉบับป 2540

               กอใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นมากมาย อาทิ องคกรอิสระตาง ๆ เพื่อมาตรวจสอบถวงดุล
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120