Page 114 - kpi22228
P. 114

106



               การวิจัย การลงทะเบียนคนจนและการหาสมาชิกพรรค ซึ่งการกําหนดสวนทางการตลาดเชนนี้มีเพียงพรรค

               ไทยรักไทยที่ดําเนินการอยางเปนระบบจึงสามารถเขาถึงผูเลือกตั้งไดมากที่สุด และพรรคไทยรักไทยยังมี
               การวางตําแหนงทางการเมืองของพรรค (Party Positioning) ใหเปนพรรคการเมืองมิติใหม มีการวางกําหนด

               ภาพลักษณหัวหนาพรรคใหเปนผูนําที่มีความสามารถสูงวิสัยทัศนกาวไกล เปนพรรคที่สรางสรรคนโยบาย

               ชัดเจนนําไปปฏิบัติไดเปนผลสําเร็จ รวมทั้งภาพลักษณที่ประกอบดวยบุคลากรที่มีความรูความสามารถ
                       สวนแบบแผนกลยุทธและการปฏิบัติ (Strategy Formulation and Implementation) ที่พรรคไทย

               รักไทยใชโดยนันทนาเห็นวาเปนการนําเอาสวนผสมทางการตลาด 4Ps (Product, Pull Marketing, Push

               Marketing, Poll) (นันทนา นันทวโรภาส 2548, 168-242) มาปรับประยุกตใชในการรณรงคอยางเหมาะสม
               ประกอบไปดวย

                       การออกแบบผลิตภัณฑ (Product) คือนโยบายที่สามารถตอบสนองความตองการของผูเลือกตั้งได

               อยางตรงประเด็น ซึ่งประกอบดวยสองสวนคือนโยบายและผูสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งในสวนของผูสมัคร
               จะเนน ผูสมัครที่เปน ส.ส. เดิมเปนหลัก หากพรรคไมมีส.ส. ในพื้นที่นั้นก็จะดําเนินการชักชวนผูสมัครที่มีเสียง

               ดีใหยายมาอยูกับพรรคไทยรักไทย หากเปนผูสมัครหนาใหมก็จะเปดใหมีการแขงขันกันเองในพื้นที่กอนที่จะ

               ทําโพลเพื่อคัดเลือกผูสมัครที่มีคะแนนนิยมมากกวาคนอื่น
                       สําหรับผลิตภัณฑที่เปนนโยบายนั้นพรรคไทยรักไทยใหความสําคัญอยางยิ่งในการออกแบบและผลิต

               นโยบายที่ตอบสนองมวลชนในกลุมทุกอาชีพ โดยกระบวนการผลิตนโยบายนั้นเริ่มตนจากการวิจัยสํารวจ

               ปญหาจัดแบงหมวดหมูวิเคราะหความเปนไปไดและนําเสนอแนวนโยบาย (นันทนา นันทวโรภาส 2548, 168-
               179)

                       พรรคไทยรักไทยใชการตลาดแบบดึงดูด (Pull Marketing) เพื่อการสื่อสารผานสื่อมวลชน

               ในการเลือกตั้งป 2544 พรรคไทยรักไทยใชการตลาดแบบดึงดูดดวยงบประมาณมหาศาลเพื่อเปดตัวพรรคให
               เปนที่รูจัก แตในการเลือกตั้งครั้งนี้พรรครณรงคผานสื่อมวลชนลดลงเปนอยางมาก แตสามารถครอบครองพื้นที่

               สื่อดวยการใชสถานภาพของรัฐบาลและใชสื่อมวลชนของรัฐประชาสัมพันธผลงานของรัฐบาลแทน ใหรัฐมนตรี

               แตละกระทรวงใชตัวเองเปนพรีเซนเตอรโฆษณาผลงานกระทรวง นอกจากนี้ยังมีรายการวิทยุ “นายกฯ ทักษิณ
               คุยกับประชาชน” เปนการใชสื่อมวลชนเผยแพรผลงานรัฐบาลไดอยางมีประสิทธิภาพสูง (นันทนา นันทวโรภาส

               2548, 179-194)

                       สวนการใชแนวทางการตลาดแบบผลักดัน (Push Marketing) มีการสื่อสารโดยตรงระหวางพรรค
               กับผูเลือกตั้ง ซึ่งวิธีการที่พรรคไทยรักไทยใชในการสื่อสารแบบนี้ก็คือ สื่อสารผานระบบเครือขายลูกโซ ระบบ

               หัวคะแนน สื่อสาธารณะ เชน โปสเตอร คัทเอาท บิลบอรด และการพบตรง เชน การเคาะประตูแนะนําตัว

               การปราศรัยหาเสียง และจัดกิจกรรมพิเศษ (นันทนา นันทวโรภาส 2548, 194-201)
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119