Page 113 - kpi22228
P. 113

105



               กับอาสาสมัคร กับสถิติซึ่งเปนวิทยาศาสตร เมื่อนําทั้งสองสวนนี้มาประกอบกันทําใหพรรควางกลยุทธได

               นอกจากนี้ ในระบบการเลือกตั้งที่มีทั้ง ส.ส. ในระบบเขตและบัญชีรายชื่อ ทําใหพรรคตองทํางานหนักมากขึ้น
               ในการสื่อสาร ดานหนึ่งเพื่อสรางความรูจักคุนเคยในตัวบุคคลของพรรคในแตละเขต กับประชาชนที่ตองการ

               นโยบายจากพรรค ซึ่งจะทําใหพรรคมั่นใจวาเมื่อประชาชนรรูจักนโยบายพรรคแลวก็จะเลือกพรรคดวย

               นโยบาย (ปานหทัย ตันติเตชา 2546, 73-74)
                       สวนในการชวยเหลือผูสมัคร พรรคใชการเตีรยมความพรอมของผูสมัครเพื่อทําใหเปนผูนําความเห็น

               (opinion leader) ผานการอบรมภายในพรรค เพื่อใหขายแนวคิดของพรรคได จากนั้นจึงสงผานถายทอด

               ใหกับบรรดาผูชวยและผูสนับสนุนพรรคตอไป ผานการอบรม สัมมนา เพื่อสรางทัศนคติใหตรงกัน ซึ่งเปน
               สวนสําคัญที่จะสรางสํานึกในสินคาทางการเมืองของพรรค

                       นอกจากนี้ในสวนของการสรางความรูสึกเปนเจาของรวมกันผานการตั้งชื่อพรรคตั้งแตแรกเริ่มที่มี

               ผูเสนอมากวา 15,000 คน โดยมีชื่อ นวไทย ประชาธรรม ประชาคม ไทยรักไทย รักษไทย เปนตน จากนั้นก็ให
               ประชาชนสงไปรษณียบัตรมารวมตัดสิน  (ปานหทัย ตันติเตชา 2546, 85)

                       ปานหทัยยังไดกลาวถึงการใชสื่อใหมอยางอินเทอรเน็ตซึ่ง ในพรรคการเมือง 5 อันดับแรกที่ใช

               อินเทอรเน็ต ไดแก ไทยรักไทย ประชาธิปตย ชาติไทย ชาติพัฒนาและความหวังใหม  (ปานหทัย ตันติเตชา
               2546, 90) การเปดชองใหประชาชนสงอีเมลถึงพรรคได มีการระบุวาสมาชิกพรรคที่มีอีเมลถึง 100,000 คน

               จากสมาชิกทั่วประเทศนับลานคน นับวาพรรคไทยรักไทยมีความพยายามเขาถึงฐานเสียงอยางที่ไมเคยมีพรรค

               ไหนทํามากอน ทั้งยังไดสงขาวสารไปยังสมาชิกเพื่อรักษาความตอเนื่องในการเสื่อสาร  (ปานหทัย ตันติเตชา
               2546, 93)

                       กลาวโดยสรุปคือ พรรคไทยรักไทยไดใชการตลาดแบบครบวงจรในความหมายที่แทจริง

               โดยการตระหนักรูของผูบริหารพรรค ผูปฏิบัติงานเพื่อสื่อสารกับสมาชิกพรรค ไมวาจะเปนการทําความเขาใจ
               กับกลุมเปาหมาย การสราความประทับใจ การสอดแทรกสาระ การสรางภาพลักษณของผูนําและนักการเมือง

               ของพรรค วาเปนทางเลือกใหม เปนพรรคที่ทันสมัยและมีวิสัยทัศนดานเศรษฐกิจ  (ปานหทัย ตันติเตชา 2546,

               127-134)
                       ถึงแมวาการศึกษาของปานหทัยจะจํากัดในชวงเวลารณรงคหาเสียงในการเลือกตั้งป 2544 แตก็ให

               ภาพครอบคลุมการดําเนินงานชวงแรกของพรรคไทยรักไทยสมัยแรกไดดี การศึกษาการตลาดการเมือง

               ของพรรคไทยรักไทยในชวงเวลาถัดมาของนันทนา นันทวโรภาส (2548) ซึ่งทําการศึกษาการสื่อสาร
               ทางการเมืองในการรณรงคหาเสียงเลือกตั้งทั่วไปของพรรคไทยรักไทยจะใหภาพที่ตอเนื่องมากขึ้น

                       นันทนาทําการศึกษาบริบททางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่มีผลตอการรณรงคหาเสียงเลือกตั้ง

               ของพรรคไทยรักไทย และศึกษาการนําแนวทางการตลาดการเมือง (Political Marketing) มาปรับประยุกตใช
               ในกระบวนการรณรงคหาเสียงเลือกตั้ง นันทนาพบวาพรรคไทยรักไทยไดนําเอาแนวคิดทางการตลาดมาใชใน

               การรณรงคหาเสียงเลือกตั้งอยางเต็มรูปแบบ โดยเห็นไดวาพรรคมีการจําแนกสวนการตลาดผูเลือกตั้ง (Voter

               Segmantation) โดยใชเกณฑทางดานประชากรศาสตรและภูมิศาสตร พรรคไทยรักไทยมีวิธีการหาขอมูลจาก
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118