Page 58 - kpi22173
P. 58

“บทบาทสตรีถิ่นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบานในการเสริมสรางการมีสวนรวมของชุมชน
                          เพื่อปองกันและควบคุมการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม 2019 ในจังหวัดเชียงใหม”




                         2.5.2 งานวิจัยที่นําแนวคิดสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมไปใช


                             ในงานเขียนของ Nhung Pham Thi, Martin Kappas and Heiko Faust (2019) เรื่อง

                  Improving the Socioeconomic Status of Rural Women Associated with Agricultural Land

                  Acquisition: A Case Study in Huong Thuy Town, Thua Thien Hue Province, Vietnam ไดเสนอ
                  วา นับแตป ค.ศ. 2000 เปนตนมา  การครอบครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินในพื้นที่สวนขยายของเมืองและพื้นที่

                  อุตสาหกรรมเกิดขึ้นอยางรวดเร็วในเวียดนาม จนนําไปสูการเปลี่ยนผานครั้งใหญของเศรษฐกิจและสังคม

                  ของพื้นที่ชนบท  ผลการศึกษาพบวา การใหกรรมสิทธิ์ครอบครองที่ดินการเกษตรมีผลกระทบตอสถานภาพ

                  ทางเศรษฐกิจและสังคมของหญิงชนบทที่ไดรับที่ดินทํากิน เชน การยกระดับชองทางอาชีพจากภาคการ

                  ผลิตอื่นๆ นอกการเกษตร ยกระดับรายได ความรูและทักษะการทํางาน เปนตน

                             หลังจากเกิดการระบาดของโรค COVID-19 มีงานศึกษาความสัมพันธระหวาง SES กับการ

                  แพรระบาดของโรค COVID-19 จํานวนหนึ่งไดพยายามสรางความเขาใจปรากฏการณที่เกิดขึ้น อยางงาน

                  เขียนของ Hawkins, Charles and Mehaffey (2020)  ศึกษาเรื่อง Socio-economic status and

                  COVID-19–Related cases and fatalities โดยศึกษาความสัมพันธระหวาง SES กับจํานวนผูติดเชื้อและ

                  เสียชีวิตจากโรค COVID-19 ในสหรัฐอเมริกาที่มีการแพรระบาดสูงและมีกรณีการติดเชื้อและเสียชีวิต

                  ที่แตกตางหลากหลายในแตละชุมชน จากการศึกษาพบวา ระดับการศึกษาที่ต่ํากวาและกลุมคนผิวดํา
                  มีระดับการติดเชื้อและการเสียชีวิตสูงกวากลุมอื่นของสังคมและมองวานโยบายในการแกปญหาความ

                  ไมเสมอภาคดานผลกระทบที่เกิดจากการแพรระบาดของโรค COVID-19 ในแหลงชุมชนนั้นๆ ควรนําปจจัย

                  ดาน SES มาพิจารณาในการจัดลําดับใหความชวยแหลือรวมดวย รวมถึงงานเขียนของ Wanberg, Csillag,

                  Douglass, Zhou and Pollard (2020) เรื่อง Socioeconomic status and Well-being during COVID-

                  19: A Resource-based examination ที่ไดศึกษาการวัดระดับความเปลี่ยนแปลงสุขภาพทางจิต เชน
                  อาการโรคซึมเศราและความคาดหวังในชีวิตกอนและระหวางการแพรระบาดของโรค COVID-19 ของคน

                  อเมริกัน โดยวัดจากสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม (SES) พบวา คนเกิดอาการโรคซึมเศราในชวงที่มี

                  การแพรระบาดเกิดขึ้นสูงกวาชวงกอนหนาและมีความคาดหวังในชีวิตลดลง คนที่มีการศึกษาสูงมักมีอาการ

                  ซึมเศราเพิ่มขึ้นอยางมาก ในขณะเดียวกันความคาดหวังในชีวิตก็ลดลงมากเชนกัน โดยเปรียบเทียบกับกลุม

                  ที่มีระดับการศึกษาที่ต่ํากวา นอกจากนั้นยังพบวา กลุมคนที่มีรายไดสูงมากๆ มีความคาดหวังในชีวิตลดลง

                  มากโดยเปรียบเทียบกันกลุมคนที่มีรายไดต่ํากวา











                                                            57
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63