Page 61 - kpi22173
P. 61
“บทบาทสตรีถิ่นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบานในการเสริมสรางการมีสวนรวมของชุมชน
เพื่อปองกันและควบคุมการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม 2019 ในจังหวัดเชียงใหม”
ในบทความของ Avivah Wittenberg - Cox (2020) ไดกลาวถึงลักษณะภาวะผูนําที่จะ
สามารถแกไขปญหาในภาวะวิกฤติการแพรระบาดของโรค COVID-19 ไดเปนอยางดีนั้นจะตองเปนผูนําที่มี
การสื่อสารที่ดี ตรงไปตรงมาและเปดเผยขอเท็จจริง เปนผูนําที่มีความเด็ดขาด ชัดเจนและเชื่อถือไดในการ
ตัดสินใจ เปนผูนําที่เขาถึงไดงายเปนกันเอง รูจักวิธีการประสานงานที่ดีและอยูเคียงขางในทุกสถานการณ
เปนผูนําที่แสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจ แสดงความเขาใจ รวมถึงแสดงความหวงใยเพื่อใหไดรับความ
ไวใจจากผูอื่น เปนผูนําที่รูจักใชเทคโนโลยีสมัยใหมในการรับมือกับปญหา ซึ่งลักษณะสําคัญนี้สอดคลองกับ
ลักษณะเดนของผูหญิงในหลายดานที่จะสามารถชวยแกไขปญหาในภาวะวิกฤติได ดังเชน ผูนําของประเทศ
เยอรมนี ไตหวัน นิวซีแลนด ไอซแลนด ฟนแลนด นอรเวย และผูนําของประเทศเดนมารกวาเปนผูนําหญิง
ที่มีการบริหารจัดการควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพ โดยผูนําหญิงเหลานี้ไดให
ความสําคัญตอการสื่อสารกับประชาชน นอกจากนี้ ผูนําหญิงยังมีความละเอียดออน ความเห็นอกเห็นใจ
และความเอาใจใส ซึ่งเปนองคประกอบสําคัญของผูนําตอความสําเร็จในการบริหารจัดการในภาวะวิกฤติ
การระบาดของโรค COVID-19 (Wittenberg - Cox, A. (2020) อางถึงในคณาจารยสถาบันบัณฑิต
บริหารธุรกิจศศินทรแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2563)
ในงานเขียนของคณาจารยสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทรแหงจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
(2563) ไดสะทอนมุมมองและขอคิดเกี่ยวกับบทบาทความสําคัญของผูนําที่เปนผูหญิงในภาวะวิกฤติ
โดยคณะผูเขียนไดกลาวถึงจุดเดนของผูนําหญิงและเหตุผลที่ทําใหผูนําหญิงสามารถบริหารจัดการ
สถานการณวิกฤติไดดีกวาผูชาย ทั้งในเรื่องของความละเอียดออน ความเขาอกเขาใจ ความเห็นอกเห็นใจ
อีกทั้งลักษณะเดนโดยปกติของผูหญิงคือจะมีความออนหวานเปนกันเอง แตเวลาที่ตองตัดสินใจก็จะใช
ทั้งเหตุผลผสมกับอารมณความรูสึกและตัดสินใจไดอยางเด็ดขาดในบางเรื่อง ยิ่งไปกวานั้นผูหญิงยังมีทักษะ
ในการสื่อสารที่ดี ชัดเจน ตรงไปตรงมาและเขาถึงไดงาย ซึ่งเปนสิ่งจําเปนอยางยิ่งในภาวะวิกฤติ สวนการ
บริหารจัดการภาวะวิกฤติของโรค COVID-19 ในประเทศไทยนั้นถือไดวาประสบความสําเร็จ สามารถ
ควบคุมจํานวนผูติดเชื้อและมีจํานวนผูที่ไดรับการรักษาจนหายเปนปกติเปนระดับตนๆ ของโลก จนไดรับ
การชื่นชมจากนานาชาติ
งานเขียนของ San et al. (2020) เรื่อง Crisis management in authoritarian regimes :
A comparative study of COVID-19 responses in Turkey and Iran ศึกษาการจัดการในภาวะวิกฤติ
ในระบอบเผด็จการอํานาจนิยม โดยศึกษาเปรียบเทียบการสนองตอบตอการแพรระบาดของโรค COVID-
19 ในประเทศตุรกีและอิหราน ผลการวิจัยชี้ใหเห็นวาระบอบเผด็จการอํานาจนิยมในแตละประเทศอาจ
ตอบสนองและจัดการกับวิกฤตการณที่แตกตางกัน จากการศึกษาเปรียบเทียบระหวางประเทศทั้งสอง
60