Page 63 - kpi22173
P. 63
“บทบาทสตรีถิ่นอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมูบานในการเสริมสรางการมีสวนรวมของชุมชน
เพื่อปองกันและควบคุมการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม 2019 ในจังหวัดเชียงใหม”
2.7.3 ระดับการมีสวนรวม
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล (2548) ไดกลาวถึงระดับการมีสวนรวมไววา ถาระดับ
การมีสวนรวมต่ํา จํานวนประชาชนที่เขามีสวนรวมจะมากและหากระดับการมีสวนรวมสูง จํานวน
ประชาชนที่เขามีสวนรวมก็จะลดลง โดยสามารถเรียงระดับการมีสวนรวมจากต่ําสุดไปหาสูง ดังนี้
1) ระดับการใหขอมูล เปนวิธีการที่งายที่สุดของการติดตอสื่อสารระหวางผูวางแผน
โครงการกับประชาชน มีวัตถุประสงคเพื่อใหขอมูลแกประชาชนโดยวิธีการตางๆ โดยไมเปดโอกาสให
ประชาชนไดแสดงความคิดเห็น
2) ระดับการเปดรับความคิดเห็นจากประชาชน เปนระดับที่ผูวางแผนจะเชิญชวนให
ประชาชนแสดงความคิดเห็นเพื่อเปนขอมูลในการประเมินขอดีขอเสียของโครงการอยางชัดเจนมากขึ้น
3) ระดับการปรึกษาหารือ เปนการเจรจาอยางเปนทางการระหวางผูวางแผนและ
ประชาชนเพื่อประเมินความกาวหนาหรือระบุประเด็นขอสงสัยตางๆ
4) ระดับการวางแผนรวมกัน เปนระดับการมีสวนรวมที่ผูวางแผนกับประชาชนมีความ
รับผิดชอบรวมกันในการวางแผนเตรียมโครงการและผลที่จะเกิดขึ้นจากการดําเนินการโครงการ (การ
พิจารณาประเด็นที่มีความยุงยากซับซอนและมีขอโตแยงมาก)
5) ระดับการรวมปฏิบัติ เปนระดับที่ผูรับผิดชอบโครงการกับประชาชนรวมกันดําเนิน
โครงการ เปนขั้นการนําโครงการไปปฏิบัติรวมกันเพื่อใหบรรลุผลตามวัตถุประสงคที่วางไว
6) ระดับการควบคุมโดยประชาชน เปนระดับสูงสุดของการมีสวนรวมโดยประชาชน เพื่อ
แกปญหาขอขัดแยงที่มีอยูทั้งหมด เชน การลงประชามติ แตการลงประชามติจะสะทอนถึงความตองการ
ของประชาชนไดดีเพียงใดขึ้นอยูกับความชัดเจนของประเด็นที่จะลงประชามติและการกระจายขาวสาร
เกี่ยวกับขอดีขอเสียของประเด็นดังกลาวใหประชาชนเขาใจอยางถองแท
สรุปไดวาแนวคิดการมีสวนรวมไวเปนการเปดโอกาสใหบุคคลไดแสดงความคิดเห็นและมีสวน
รวมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลตอวิถีชีวิตและความเปนอยู เพื่อใหการบริหารงานของภาครัฐมีความ
โปรงใสและตอบสนองตอปญหาและความตองการของประชาชน
62