Page 109 - kpi21588
P. 109
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-17
เด็ดขาด แต่หากเสนอในนโยบายดูว่าจะเป็นรูปแบบของการต่อรองผลประโยชน์มากกว่าที่สามารถยอมรับได้
อย่างไรก็ตามกลุ่มเยาวชนที่เป็น first-time voters ให้ข้อมูลว่ากลุ่มหัวคะแนนทราบพื้นที่ดี จะไม่มาเข้าใกล้
บริเวณสถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย รอบมหาวิทยาลัย การซื้อสิทธิขายเสียงในชุมชนใกล้บริเวณมหาวิทยาลัย
มีวิธีการแตกต่างไปจากพื้นที่ในชนบท หัวคะแนนจะเข้าไปติดต่อเฉพาะกับคนในชุมชนมากกว่านักศึกษาที่
อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ ในอนาคตการซื้อสิทธิขายเสียงลดลง แต่จะปรากฏในรูปแบบการสร้าง
แรงจูงใจเพิ่มขึ้น กาสร้างบุญคุณมีคุณค่าและอิทธิพลต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากกว่าการให้เงิน ดังนั้นจะ
ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงกลุ่มนักศึกษาเพราะมีความเสี่ยง เนื่องจากนักศึกษาและกลุ่ม first-time voter แสดง
ความคิดเห็นทางการเมืองในช่วงตั้งแต่รัฐประหารจนถึงก่อนการเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2563 ชัดเจนที่ต้องการ
เปลี่ยนแปลงการเมืองซึ่งส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์และบริบทการเมืองด้วย ที่ส าคัญคือ ความสามารถของ
เยาวชนในการใช้ social media ที่เสี่ยงต่อการถูกถ่ายรูปหรือโพสในโลกโซเชียล ดังนั้นเงินถ้าเอามาซื้อเสียงกับ
กลุ่มนักเรียน นักศึกษาต้องสูญเปล่าแน่นอน
ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาวันที่ 24 มีนาคม 2563 มีประเด็นถกเถียงระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นอื่น
ในเรื่องการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้ง ผู้น าท้องถิ่นคนหนึ่งกล่าวว่า “...การเมืองเหมือนเดิมแต่เราคิดอีกแบบ
เยาวชนคิดอีกแบบ...” มุมมองทางการเมืองจึงเปลี่ยนไปเยอะมากส่งผลให้ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคหนึ่งที่
ก าลังได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชนปัจจุบันชนะการเลือกตั้ง ในขณะที่คนรุ่นเก่า ๆ เลือกพรรคการเมืองเดิม/
ผู้สมัครที่เป็นอดีต ส.ส. ที่มีผลงานการพัฒนาในพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ระบบการ
เลือกตั้งที่ออกแบบให้ใบเดียวกากเลือกทั้งคนและพรรค ส่งผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียง บางคนชื่นชอบ
พรรค แต่ไม่ชอบตัวบุคคล โดยส่วนมากเยาวชนเลือกที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคที่ชื่นชอบและไม่ได้พิจารณาตัว
บุคคล น าไปสู่การตั้งค าถามต่อผู้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเป็น ส.ส.ว่า “...เป็นแล้วท างานเป็นไหม” จะเห็น
ว่าประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองเริ่มเกิดขึ้นในระดับชุมชนเมื่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงไม่ได้เกิดจากการ
ชักน าของคนในครอบครัวดังเช่นในอดีต แต่คนรุ่นใหม่มีมุมมอง ความคิดเรื่องการเมืองที่ได้บริโภคผ่าน social
media และแหล่งข้อมูลอื่นๆ การพูดคุยเรื่องการเมืองจึงมีเกิดขึ้นในครอบครัวมากขึ้น ครอบครัวเป็นเสมือน
ตัวกลางในการเลือกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารที่จ าเป็นต่อการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของเยาวชน
โดยเฉพาะเยาวชนที่มีสิทธิ์ครั้งแรก
แม้เยาวชนที่ให้ข้อมูลบางส่วนยังไม่มีสิทธิเลือกตั้งแต่พบว่ามีการติดตามข้อมูลข่าวสารทางการเมือง
ผ่าน social media โดยเฉพาะ twitter ท าให้มุมมองทางการเมืองน่าสนใจเพราะโดยทั่วไปมองว่า การเลือกตั้ง
คือ การที่เราเลือกคนดีเข้าไปบริหารประเทศ แม้จะยังไม่สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งได้ แต่มีประสบการณ์
เกี่ยวข้องกับการซื้อสิทธิขายเสียงในชุมชน ประสบการณ์ของการซื้อสิทธิขายเสียงที่เคยเห็นหรือรับรู้จากผู้ใหญ่
ในชุมชนคือ มีการซื้อสิทธิขายเสียงในพื้นที่โดยส่วนมากปรากฏในลักษณะของการให้สิ่งของต่าง ๆ แก่ชุมชน
อาทิเช่น ผ้าห่ม เป็นต้น รวมถึงการให้เงินแก่คนในชุมชน สิ่งที่น่าสังเกตคือ การให้เงินแก่คนในชุมชนไม่ได้
เกิดขึ้นอย่างทั่วถึง โดยกระจุกตัวอยู่แค่คนบางกลุ่มในชุมชนเท่านั้น เฉลี่ย 200 บาทต่อคน ทั้งนี้ การตัดสินใจ
ลงคะแนนเสียงเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละบุคคล เลือกคนดี คนที่สามารถท าในสิ่งที่เราได้การได้ โดยปัจจัย