Page 110 - kpi21588
P. 110
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-18
ส าคัญที่ท าให้การซื้อสิทธิขายเสียงเกิดขึ้นคือ “อ านาจ” เป็นสิ่งที่สามารถท าให้เกิดการซื้อสิทธิขายเสียงในพื้นที่
โดย “คนมีอ านาจ” ได้แก่ ผู้น าชุมชน การแก้ไขปัญหาของการซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้งไม่ใช่สิ่งที่จะท าให้
เกิดขึ้นได้ทันที ต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป เพราะเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านของรุ่น และพรรคการเมืองที่มีก็มีความ
เปลี่ยนแปลง พรรคการเมืองที่เคยมีอ านาจก็เริ่มหมดความเชื่อมั่นจากผู้สนับสนุน การสนับสนุนคนรุ่นใหม่มาลง
สมัครเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นมากขึ้น สะสมประสบการณ์ทางการเมือง แม้แต่หัวคะแนนที่ส่วนใหญ่เป็นผู้น า
ชุมชน ก็ควรดึงเอาคนรุ่นใหม่มาลงเป็นผู้น าชุมชนด้วย เพราะวิธีคิดเรื่องของปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงมีความ
ชัดเจนมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ กฎหมายไม่เป็นกลาง คนปฏิบัติก็ไม่เป็นกลาง คล้อยตามไปตามผู้บังคับบัญชา
สรุป
จากการเก็บรวบรวมข้อมูล พบว่าการซื้อสิทธิขายเสียงยังปรากฏให้เห็นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
ถึงแม้จะมีรูปแบบและลักษณะแตกต่างออกไปตามสภาพพื้นที่และบริบททางการเมือง แต่การซื้อสิทธิขายเสียง
ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางการเมืองที่คนในพื้นที่คุ้นเคย ข้อมูลที่ปรากฏท าให้เห็นมุมมองของรุ่น
(Generation) ที่ต่างกัน ความคิดทางการเมืองของคนรุ่นใหม่กับคนที่มีประสบการณ์ในการเป็นผู้มีสิทธิ
ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมานาน มีความเชื่อทางการเมืองที่แตกต่างกันมีผลอย่างยิ่งต่อผลคะแนนการเลือกตั้ง
และความนิยมทางการเมืองในจังหวัด รวมถึงมุมมองที่มีต่อการซื้อสิทธิขายเสียง ผู้สมัครและพรรคการเมืองที่ใช้
เงินในการเลือกตั้ง ภูมิศาสตร์และลักษณะของชุมชนที่เปลี่ยนไปมีความเป็นเมืองและความก้าวหน้าของการ
สื่อสารมากขึ้น การบริโภคข้อมูลข่าวสารจากสื่อออนไลน์ที่มีมากและรวดเร็วส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเรื่อง
การเมือง ท าให้ความคิดและพฤติกรรมทางการเมืองการเลือกตั้งของคนในพื้นที่เปลี่ยนไปเช่นกัน อย่างไรก็ตาม
ผลประโยชน์เดียวที่ประชาชนเชื่อว่าได้รับจากการซื้อสิทธิขายเสียงคือการได้เงิน แม้ไม่มากแต่ก็ท าให้สามารถ
ด ารงชีวิตได้เพราะสภาพปัญหาทางเศรษฐกิจที่บีบคั้น
บทบาทของผู้น าชุมชนที่เคยเป็นหัวคะแนนในการซื้อสิทธิขายเสียง ไม่สามารถท าได้ดังเช่นในอดีต
บทบาทการสนับสนุนพรรคการเมืองและนักการเมืองยังคงมีให้เห็นปกติและเมื่อมาเกี่ยวข้องกับเงินซื้อเสียงกลับ
ส่งผลต่อความไม่ไว้วางใจต่อคนในชุมชน ประชาชนที่ให้ข้อมูลมองเห็นว่าการซื้อสิทธิขายเสียงไม่มีวันหายไปแต่
จะน้อยลงเพราะมีรูปแบบการให้ผ่านนโยบายประชานิยมและการแจกผลประโยชน์ทางนโยบายมากขึ้น
ดังนั้น การสร้างพรรคการเมืองให้เข้มแข็งด้วยการต่อสู้เชิงนโยบายอาจจะเป็นหนทางส าคัญประการ
หนึ่งที่ตรงต่อความต้องการของประชาชนและมาแทนที่การซื้อสิทธิขายเสียงด้วยเงินได้ ในขณะเดียวกันการที่
เงินซื้อเสียงเริ่มไม่ได้เป็นหลักประกันของชัยชนะทางการเมืองอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนกลยุทธ์ของพรรค
การเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง ประชาชนที่ให้ข้อมูลต่างมองว่าการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงควรเป็นหน้าที่
หลักของหน่วยงานรัฐ และส านึกของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง แต่หากจะให้ประชาชนมามีส่วน
ร่วมในการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้งต้องมีรูปแบบของการเป็นกลุ่มภาคประชาสังคมที่มีอิสระเพราะ
จะปลอดจากการควบคุมของผู้มีอ านาจหรือไม่ถูกชี้น าทางการเมือง ผู้ให้ข้อมูลต่างมองว่าคนรุ่นใหม่น่าจะเป็น