Page 107 - kpi21588
P. 107
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-15
1.6 สถานการณ์การซื้อสิทธิขายเสียงในอนาคต (หากปล่อยให้เป็นไปตามเช่นที่ผ่านมา และหาก
ด าเนินการแก้ไข/ป้องกันตามแนวทางที่เสนอในข้อ 5)
โดยสภาพแวดล้อมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในช่วงการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา บีบให้
การซื้อสิทธิขายเสียงเปลี่ยนแปลงไป แม้ยังปรากฏการซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้งอยู่ในแทบทุกพื้นที่ แต่อ านาจ
ของเงินจากการซื้อสิทธิขายเสียงไม่ได้มีความส าคัญมากดังเช่นในอดีต เมื่อเป็นเช่นนี้แนวโน้มของการซื้อสิทธิ
ขายเสียงจะลดความรุนแรงลง แต่ไม่หายไปจากสังคมเนื่องจากในหลายกลุ่มชุมชนยังเห็นคุณค่าของเงินจากการ
ซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้ง ดังนั้นจากข้อเสนอแนะในข้อที่ 5 จะเห็นว่าแนวทางหลักๆ ที่ประชาชนกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
น าเสนอ ต่างมองว่าหน่วยในการปฏิบัติตามกฎหมายทั้ง กกต.และ ฝ่ายปกครองไม่สามารถปฏิบัติงานและ
จัดการการเลือกตั้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดความไม่ไว้วางใจ ดังนั้น การสร้างองค์กรที่เป็นองค์กรชุมชน ดึง
เอาภาคประชาชนกลุ่มเยาวชนมาร่วมน่าจะเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนรณรงค์การมีส่วนร่วมทางการเมืองและให้
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและช่วยสร้างทัศนคติเกี่ยวกับการรับเงินซื้อเสียงที่ส่งผลต่ออนาคตและชุมชนอย่างไร
แม้ผู้ให้สัมภาษณ์บางคนนอกจากนี่ผู้ให้สัมภาษณ์ยังเชื่อว่าในอนาคตหากมีการเลือกตั้ง การซื้อสิทธิ
ขายเสียงจะยังคงรุนแรง แต่ความรุนแรงเกิดมาจากบางพรรคที่มีอ านาจแต่เห็นว่าตนเองมีโอกาสแพ้ อย่างน้อย
ต้องไม่ต่ ากว่า 1,000 บาท การแก้ปัญหาเรื่องที่เกิดขึ้นจึงต้องดึงเอาคนรุ่นใหม่มาท างานทางการเมือง มีกลุ่ม
องค์กรใหม่ๆ ที่เป็นแบบอย่างและสร้างบรรทัดฐานใหม่ๆ เพราะความแตกต่างของรุ่นระหว่างคนรุ่นเก่าและรุ่น
ใหม่มีมุมมองต่อเงินซื้อเสียงต่างกัน
เมื่อวิธีการที่ส าคัญ คือ การรับเงินแต่ไม่ลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครคนนั้น การซื้อสิทธิขายเสียงจะลด
ความรุนแรงลง โดยเฉพาะการใช้เงินจะลดลง แต่ซื้อเสียงที่ไม่ใช้เงิน แต่เป็นการแสดงออกหรือรูปแบบของ
โครงการหรือนโยบายอื่นๆ รูปแบบของการหาเสียงของนักการเมืองออกมาในรูปแบบของงานจิตอาสา
อาสาสมัครที่สร้างตัวตนของตัวเองในพื้นที่เลือกตั้ง ผู้ให้ข้อมูลเชื่อว่าเงินไม่ส่งผลต่อการเลือกตั้งและชาวบ้าน สิ่ง
ที่มีผลต่อการตัดสินใจของชาวบ้าน คือ ตัวผู้สมัครโดยจะพิจารณาจากการเข้ามาท างานในพื้นที่ หรือ ผลงานใน
อดีตที่ผ่านมา รวมไปถึงความผูกพันต่อพื้นที่ เพื่อให้ชาวบ้านรู้สึกพึ่งพาในระยะยาวได้ โดยเฉพาะนโยบายที่จับ
ต้องได้จริง เพราะตัวอย่างนโยบายในยุครัฐบาลทักษิณคือสิ่งที่ท าให้ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าให้ผลประโยชน์
มากกว่าเงินซื้อเสียง 300 บาทได้
ดังนั้น อนาคตรูปแบบการซื้อสียงจะเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน การซื้อสิทธิขายเสียงจะปรากฏใน
รูปของการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านต่าง ๆ และมีการสร้างตัวตนของตนเองก่อนการเลือกตั้ง กล่าวคือ พรรค
การเมืองและ ส.ส. ต้องท างานร่วมกับชุมชนหรือลงท างานในพื้นที่อย่างสม่ าเสมอ อาทิเช่น การลงพื้นที่พบปะ
หรือช่วยงานชุมชน เป็นต้น การตัดสินใจเลือกลงคะแนนเสียงของชาวบ้านจะพิจารณาจากสิ่งที่ ส.ส. ท า
ประโยชน์แก่ชุ่มชน ทั้งนี้ ในฐานะของคนรุ่นใหม่ ก่อนและหลังการเลือกตั้งมีการลงพื้นที่ส ารวจความคิดเห็น
และให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งแก่คนในชุมชน อย่างไรก็ตาม เงินจากการซื้อสิทธิขายเสียงยังคงมีอิทธิพลต่อ
หัวคะแนนเท่านั้น หลายพื้นที่มีการซื้อหัวคะแนน เพื่อท าหน้าที่เป็นตัวกลางเป็นระหว่างนักการเมืองและชุมชน