Page 102 - kpi21588
P. 102

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   7-10



                               5) การซื้อสิทธิขายเสียงล่วงหน้ามีหลายรูปแบบ ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพแก่

                       ประชาชนในชุมชน การตรวจสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ รูปแบบที่ปรากฎก่อนวันเลือกตั้งคือ การจัดคาราวานตรวจ
                       สุขภาพให้ประชาชน การร่วมจัดงานประเพณี บริจาคสิ่งของ สร้างพื้นที่สาธารณะประโยชน์แก่ชุมชน


                               เงื่อนไขส าคัญที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสิทธิขายเสียง ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ คน
                       ที่มีโอกาสถูกซื้อเสียงส่วนมากคือ กลุ่มเกษตรกรหรือผู้ขาดโอกาสทางสังคม การเข้าถึงผลประโยชน์ทาง

                       เศรษฐกิจหรือสวัสดิการ ผู้ประสบปัญหาความยากจน ซึ่งท าให้การซื้อสิทธิขายเสียงในบริบทของชนบทจะมี
                       มากกว่าในเขตพื้นที่เมือง สิ่งที่ท าให้การซื้อสิทธิขายเสียงประสบความส าเร็จ ในแง่ของนามธรรมคือ อ านาจทาง

                       จิตใจของแต่ละบุคคล หากความต้องการสูงกว่าหลักความถูกต้อง น าไปสู่การยอมรับการซื้อสิทธิขายเสียง

                       ในทางรูปธรรมคือ ความยากจนและความจ าเป็นในการใช้เงินมากกว่าการคิดถึงผลกระทบอื่นๆ ในอีกด้าน
                       ความเคยชินของการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐมาตลอดสร้างความรู้สึกของการพึ่งพิงทางนโยบายอย่าง

                       ต่อเนื่อง ไม่ได้สร้างคนให้ต่อสู้พึ่งพิงตนเอง คนจึงเฝ้ารอการได้รับและการให้จากรัฐ สิ่งเหล่านี้นับเป็นการหล่อ
                       หลอมลักษณะพื้นฐานที่ท าให้ต้องได้เงินหรือผลประโยชน์ในช่วงเลือกตั้งเช่นกัน เมื่อคนไม่เข้มแข็ง การซื้อสิทธิ

                       ขายเสียงก็ยังเกิดขึ้นต่อไป การซื้อสิทธิขายเสียงกลายเป็นวัฒนธรรมเพราะมีกระบวนการสืบสานผ่าน

                       นักการเมือง ตระกูลการเมือง พวกพ้องทางการเมืองเพราะคือกลุ่มการเมืองกลุ่มเดิมๆ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลง
                       พื้นที่ทางการเมืองของกลุ่มอ านาจการเมืองเดิมอาจน าไปสู่ค่านิยมใหม่ๆ ที่อาจช่วยแก้ปัญหาการซื้อสิทธิขาย

                       เสียง

                          1.3  ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสิทธิขายเสียงแล้วได้รับเลือกตั้งหรือไม่ได้รับเลือกตั้ง


                               ปัจจัยแรก คือ ความเข้มแข็งของชุมชน ความเป็นหนึ่งเดียวของชุมชน จากการเก็บรวบรวมข้อมูลใน
                       พื้นที่ค าตอบส่วนใหญ่เชื่อว่าพื้นที่ที่เป็นหนึ่งเดียวกันสามารถป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงได้ และสามารถเลือก

                       ตัวแทนของตนได้ในทิศทางเดียวกัน ดังเช่นพื้นที่ที่ได้มีการเข้าไปสัมภาษณ์ในเขตอ าเภอหางดง ที่ผู้ให้สัมภาษณ์
                       ต่างเชื่อว่าเพราะชุมชนมีความเหนียวแน่น จึงท าให้ข้อมูลของสมาชิกในชุมชนสามารถติดตามได้ง่าย หากมีการ

                       ซื้อสิทธิขายเสียงหรือมีหัวคะแนนเข้ามาสมาชิกในชุมชนจะรับรู้โดยทั่วกัน

                               ปัจจัยที่สอง คือ การลงพื้นที่สม่ าเสมอของนักการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้ง ค าตอบที่ได้จาก

                       ประชาชนถึงบทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคือ ช่วยเหลือประชาชน ช่วยเหลือชาวบ้านในทุกเรื่องที่ร้อง
                       ขอโดยเฉพาะปัญหาด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ด้วยพื้นเพของพฤติกรรมทางการเมืองของคนในพื้นที่

                       ภาคเหนือมีความยึดโยงกับวัฒนธรรมและคุณค่าของความเป็นพวกพ้องเครือญาต ดังนั้น ความคาดหวังต่อ

                       นักการเมืองที่มาลงพื้นที่พบปะและร่วมงานส าคัญทางประเพณีของชุมชนจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ประชาชน
                       แม้จะรับเงินจากพรรคการเมืองอื่น แต่ก็จะเลือกบุคคลที่ตนเองคุ้นเคย หรือไม่รับเงินจากคนอื่นที่ไม่สามารถ

                       เข้าถึงประชาชนในชุมชนได้

                               ปัจจัยที่สาม คือ ความคิดของประชาชนที่สัมภาษณ์ โดยเฉพาะกลุ่มผู้น าที่เห็นพฤติกรรมการเลือกตั้ง

                       ในชุมชนตนเองและพูดคุยกับคนในชุมชนพบว่า ปรากฎการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นคือ การรับเงินแต่ไม่เลือก เพราะเชื่อ
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107