Page 104 - kpi21588
P. 104
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-12
ในช่วงเลือกตั้ง แต่การสร้างบุญคุณในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ช่วงเลือกตั้งกลับมีอ านาจมากกว่าเงิน เพราะมันเชื่อมโยง
กับวัฒนธรรมชุมชน
1.5 แนวทางการป้องกันและแก้ไขการซื้อสิทธิขายเสียง
5.1 การให้ความรู้ แนวทางการแก้ไขป้องกันการซื้อสิทธิขาย
ควรเริ่มต้นจากการสร้างความตระหนัก ความรู้ และความเข้าใจร่วมกันของชุมชนหรือความเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชนว่า คนในต้องปฏิเสธการเข้ามาของหัวคะแนนที่เข้ามาในชุมชนทั้งเงินและสิ่งของ
ผู้น าชุมชนโดยเฉพาะผู้ใหญ่บ้าน ผู้ที่มีอ านาจในชุมชนต้องไม่เป็นหัวคะแนนและชี้น าคนในชุมชน นอกจากนี้
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ควรมีอิสระในการท างานและเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการ
ตรวจสอบ รวมไปถึงการใช้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการซื้อสิทธิขายเสียง โดยเฉพาะความผิดตาม
กฎหมายเกี่ยวข้องกับการซื้อสิทธิขายเสียง
วิธีการส าคัญในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมประชาชนคือ การรณรงค์และให้แกนน าชุมชน เช่น อสม.
เป็นกลไกหลักและให้ประชาชนพูดคุยกันมากขึ้น ลดความหวาดระแวง ต้นเหตุของปัญหาคือ คนไม่คุยกันเรื่อง
ของปัญหาที่เกิดขึ้น ทะเลาะกัน ไม่แจ้งปัญหาของชุมชน ต่างคนต่างความคิด ท าให้ความแตกแยกยิ่งมีความ
ขัดแย้งมากขึ้น ประชาชนไม่กล้าคิดต่างและเอาง่ายไม่อยากสร้างความล าบากให้แก่ตนเอง เลยไม่สนใจในการ
มามีส่วนร่วมทางการเมือง ผู้น ามีบทบาทมากในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมแต่ในบางกรณีผู้น าก็มีอิทธิพลมาก
และควบคุมประชาชนในพื้นที่ได้ก็อาจส่งผลให้ชาวบ้านไม่กล้าแสดงออกทางการเมือง
ผู้น าต้องท าความเข้าใจกับชาวบ้านก่อนว่าปัจจัยพื้นฐานในการด ารงชีวิต ไฟฟ้า ประปาทั้งหลายมี
ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ทางการเมืองอย่างไร แล้วการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งส่งผลอย่างไร น ามาสู่ปัญหาอะไร
ท าให้ชุมชนเข้าใจว่าการเลือกตั้ง เลือกผู้แทนที่ดีส าคัญอย่างไร แกนน าต่าง ๆ เยาวชน ผู้น า ควรท าสัตยาบัน
ร่วมกันในชุมชน ข้อตกลงในการเลือกผู้แทนหรือกับผู้แทนให้เกิดข้อตกลงที่ชัดเจนกับประชาชน จะเป้นการ
ปลูกฝังทางการเมืองให้ประชาชน ให้มีการถอดบทเรียนการซื้อสิทธิขายเสียงในพื้นที่แต่ละยุคเพื่อให้ชาวบ้านรู้
รู้ทัน ให้เยาวชนรู้เพราะวันหนึ่งต้องขึ้นมาเป็นผู้น า การซื้อสิทธิขายเสียงมีตั้งแต่ท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ
5.2 การสร้างวาทกรรมการซื้อสิทธิขายเสียงที่เป็นภัย
เงื่อนไขที่ส่งผลให้การซื้อสิทธิขายเสียงลดลงได้แก่ การให้ความรู้ การศึกษาแก่ชาวบ้าน อธิบายว่า
การซื้อสิทธิขายเสียงส่งผลกระทบอย่างไร การใช้สื่อและเทคโนโลยีส่งต่อข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และที่ส าคัญคือ
การท าให้การเมืองเป็นเรื่องใกล้ตัว กล่าวได้ว่า การศึกษา ความรู้ ความเข้าใจเป็นจุดเริ่มต้นของการ
เปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ในสังคม ดังนั้น แนวโน้มในอนาคตรูปแบบการซื้อสียงจะเปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน
การซื้อสิทธิขายเสียงจะปรากฏในรูปของการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านต่าง ๆ และมีการสร้างตัวตนของตนเอง
ก่อนการเลือกตั้ง กล่าวคือ พรรคการเมืองและ ส.ส. ต้องท างานร่วมกับชุมชนหรือลงท างานในพื้นที่อย่าง
สม่ าเสมอ อาทิเช่น การลงพื้นที่พบปะหรือช่วยงานชุมชน เป็นต้น การตัดสินใจเลือกลงคะแนนเสียงของ