Page 108 - kpi21588
P. 108

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   7-16



                       ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ ตลอดจนชี้น าให้เลือกผู้สมัครคนใด  คนหนึ่ง แนวทางการส่งเสริมการมี

                       ส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้งจากผู้ให้ข้อมูลเสนอว่าควรมีการตั้งกลุ่มที่มี
                       บทบาทเฉพาะในการตรวจสอบ จับกุมผู้กระท าผิดในการเลือกตั้ง เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อองค์กรที่ท า

                       หน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งในปัจจุบันต่างตอบว่าไม่เชื่อมั่นและไม่เป็นกลางท าให้การแก้ปัญหาไม่สามารถท าได้

                       ดังนั้น ควรมีองค์กรอิสระอื่นที่มีภาคประชาชนเข้าไปร่วมในองค์กรเพื่อตรวจสอบการเลือกตั้งด้วย
                       นอกเหนือจากนี้ผู้ให้ข้อมูลยังมองว่าประชาขนเองสามารถที่จะแจ้งเบาะแสหรือแจ้งข้อมูลเรื่องการซื้อสิทธิขาย

                       เสียงได้ แต่ไม่มีช่องทางในการแจ้งที่ปลอดภัยและมีการด าเนินการอย่างรวดเร็วทันที ท าให้ต้องสร้างเครื่องมือ
                       ในการเอื้อต่อการสนับสนุนประชาชนให้สามารถแจ้งข้อมูลได้


                          1.7  ความคิดเห็นของผู้รวบรวมข้อมูล (เพิ่มเติม) เกี่ยวกับการซื้อสิทธิขายเสียงในจังหวัด

                               ปัญหาอุปสรรคส าคัญที่ท าให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันการซ้อสิทธิขายเสียงน้อย คือ
                       ประชาชนไม่ต้องการสูญเสียประโยชน์จากากรได้รับเงินในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้นข้อเสนอที่ได้จากข้อมูลคือ

                       การไปแก้ตรงที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหยุดการซื้อสิทธิขายเสียงหรือท าให้การแจกเงินมหาศาลในการซื้อสิทธิขาย

                       เสียงไม่ได้ผล ดังนั้น การรับเงินแต่ไม่เลือกคือวิธีการหนึ่งที่ประชาชนเสนอและมองว่ารัฐต้องหาวิธีการมารองรับ
                       คือ การนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งกลางเพื่อป้องกันอิทธิพลในการนับคะแนนและการันตีความปลอดภัยให้แก่

                       ประชาชน

                               ในพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายทางชาติพันธ์ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่เหล่านี้ไม่มีความรู้ความเข้าใจ

                       เรื่องระบบการเลือกตั้งแต่ให้ความไว้ใจและความสัมพันธ์ต่อผู้น าซึ่งเป้นไปตามแนวทางการปกครองตามจารีต

                       ประเพณี ระบบความเชื่อของชนเผ่า ในพื้นที่ชุมชนชาติพันธ์การติดต่อสื่อสารในชุมชนส่วนมากประกาศตาม
                       เสียงตามสาย ระบบการสื่อสารผ่านอนเตอร์เนตมีข้อจ ากัด การหาเสียงเลือกตั้งในชุมชนในชุมชนชาติพันธุ์ส่วน

                       ใหญ่จึงมอบบทลบาทให้ผู้น าคือ ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านให้ไปพบนักการเมืองแล้วกลับมาแจ้งชุมชน
                       หากแต่ในพื้นที่อื่นที่มีการหาเสียงผ่านรถแห่หาเสียง มาแนะน าตัว แต่ส่วนใหญ่การตัดสินใจลงคะแนนเสียง

                       เลือกตั้งไม่ได้เกิดจากปัจจัยเรื่องพวกนี้ แต่เกิดจากการพูดคุยภายในชุมชน การถกเถียงร่วมกันระหว่างผู้น ากับ
                       สมาชิกในชุมชน ส่วนใหญ่ความนิยมในตัวนักการเมืองและพรรคการเมืองเกิดจากการติดตามนโยบาย ประเด็น

                       ทางเศรษฐกิจกลายเป็นประเด็นที่สร้างความนิยมต่อพรรคการเมือง

                               ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มองว่าการซื้อสิทธิขายเสียงในอนาคตคงไม่หมดไปแต่จะมีความรุนแรง

                       น้อยลง เพราะในหลายพื้นที่เกิดปรากฎการณ์ “รับเงินแต่ไม่เลือก” เงินก าลังจะใช้ไม่ได้ผลหรือเงินอาจไม่ได้

                       เป็นตัวแปรเดียวที่จะท าให้ชนะการเลือกตั้งอีกต่อไป พรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งจะหาวิธีการอื่นที่ไม่
                       สูญเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ จังหวัดเชียงใหม่เป็นกรณีตัวอย่างหนึ่งที่กลุ่มผู้ให้ข้อมูลให้ข้อมูลว่ามีการรับเงิน

                       ซื้อเสียง โดยการรับมาแต่ไม่เลือก ข้อมูลจากกลุ่มเยาวชนที่ได้สัมภาษณ์ทั้งหมดต่างบอกว่าเยาวชนหรือคนรุ่น
                       ใหม่ที่เป็น first-time voters มองว่าการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและไม่ควรเกิดขึ้นในยุคของพวก

                       เขา เยาวชนคนรุ่นใหม่ต่างบอกว่า ถ้ามีการเสนอเงินหรือผลตอบแทนรูปตัวเงินเพื่อการลงคะแนนจะไม่รับ
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113