Page 113 - kpi21588
P. 113

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   7-21



                              2. รูปแบบการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในปัจจุบัน

                              การซื้อสิทธิ์ขายเสียงมีการพัฒนาขึ้นจากในช่วงก่อน ๆ ดังนี้
                              2.1 การแจกเงินโดยหัวคะแนน มีการพัฒนาระบบที่รัดกุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้

                                  อาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน (อสม.) เป็นหัวคะแนน ควบคู่ไปกับการใช้ผู้ใหญ่บ้านเป็น

                                  หัวคะแนน เนื่องจากผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้นมีเพียงคนเดียว ไม่สามารถควบคุมคะแนนทั้งหมด
                                  ได้ และมีผู้สมัครหลายคนมุ่งที่จะเอาผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวคะแนน หากผู้ใหญ่ตกลงรับสนับสนุน

                                  ผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไป ผู้สมัครจะขาดความมั่นใจว่าจะท าคะแนนให้เต็มที่ได้ เป้าหมาย
                                  ของหัวคะแนนจึงเปลี่ยนมาที่ อสม. โดยข้อดีของ  อสม. ต่อการซื้อเสียงคือ 1) อสม. 1 คน มี

                                  ครัวเรือนที่รับผิดชอบดูแลเรื่องสาธารณสุข 10 ครัวเรือน 2) อสม. มีความใกล้ชิดและได้รับความ
                                  ไว้วางใจจากสมาชิกของครัวเรือน การหาหัวคะแนนจึงต้องให้ อสม. เป็นหัวคะแนนรับผิดชอบ

                                  เฉพาะสมาชิก 10 ครัวเรือนเท่านั้น ซึ่งจะมีผู้มีสิทธิลงคะแนนประมาณ 30 - 40 คน หากหมู่บ้าน

                                  ใดมี 100 ครัวเรือน จะใช้ อสม. เป็นหัวคะแนน 10 คน ท าให้คณะท างานของผู้สมัครฯ ควบคุม
                                  ก ากับคะแนนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น



                                  ระบบการจัดการบริหารคะแนน ท าด้วยกระบวนการดังนี้
                                  1) คณะท างานของผู้สมัคร ค้นหา ทาบทาม ให้อสม. มาเป็นหัวคะแนน อาจจะไม่ได้อสม. ทุกคน

                                     ในหมู่บ้านแต่จะคัดเอาเฉพาะผู้ที่ท าหน้าที่หัวคะแนนได้อย่างเต็มที่ และคัดเอาอสม. ตาม
                                     จ านวนคะแนนเสียงที่ต้องการในหมู่บ้านนั้น ๆ เช่น หากมีผู้มีสิทธิลงคะแนนจ านวน 300 คน

                                     หรือประมาณ 100 ครัวเรือน หากต้องการคะแนน 60% ขึ้นไป จะใช้อสม. เป็นหัวคะแนน
                                     ประมาณ 6 - 7 คน ต่อหน่วยเลือกตั้ง

                                  2) อสม. ที่เป็นหัวคะแนนจะท าการจดรายชื่อผู้มีสิทธิลงคะแนนตามครัวเรือนที่รับผิดชอบพร้อม

                                     หมายเลขบัตรประชาชนเพื่อน าเสนอคณะท างานของผู้สมัครฯ เพื่อน ามาตรวจสอบโดยใช้
                                     โปรแกรมคอมพิวเตอร์ว่ารายชื่อที่เสนอมานั้นเป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่ในชุมชนนั้นจริงหรือไม่

                                     และเป็นบุคคลที่ถูกเสนอชื่อมาซ้อนกับหัวคะแนนอื่น ๆ หรือไม่ หากซ้ ากันจะถูกตัดออกให้
                                     เหลืออยู่ในบัญชีรายชื่อเดียว

                                  3) หัวคะแนนจะได้ค่าตอบแทนเบื้องต้นในการด าเนินการ ในช่วงเวลาการรณรงค์หาเสียงก่อน

                                     การเลือกตั้งหัวคะแนนจะท าการวิเคราะห์ประเมินความนิยมของผู้มีสิทธิลงคะแนนว่ามี
                                     แนวโน้มจะลงคะแนนในหมายเลขใดจากนั้นหัวคะแนนจะแนะน าและน าเสนอในการเลือก

                                     หมายเลขที่ตนรับเป็นหัวคะแนน
                                     การซื้อเสียงครั้งล่าสุดพื้นที่ชนบทอยู่ที่ 500 บาทต่อคน พื้นที่ชุมชนเมืองอยู่ที่ 1,000 บาท

                                     โดยหัวคะแนนเป็นคนน าไปแจกเอง ในช่วงเวลา 1-2 วัยก่อนการเลือกตั้ง โดยมีคณะท างาน

                                     ของผู้สมัครเดินประกบไปด้วย กรณีที่มีผู้สมัครหลายคนมาทาบทามให้ อสม. เป็นหัวคะแนน
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118