Page 114 - kpi21588
P. 114
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-22
อสม. จะตัดสินใจเลือกสนับสนุนเพียงคนเดียว โดยพิจารณาจาก 1) เป็นคนคุ้นเคย 2) เป็น
พรรคที่ชอบ 3) ยอมรับเงื่อนไขค่าตอบแทนที่เหมาะสม
2.2 การซื้อเสียงโดยจ่ายเงินผ่านการโอนเข้าบัญชีออนไลน์ มีบางพื้นที่ที่ อสม. ซึ่งได้เงินสดมาจ านวน
หนึ่งจากคณะท างานของผู้สมัคร จะโอนเงินเข้าบัญชีผ่านทาง e-Banking ให้กับสมาชิกครัวเรือน
2.3 การใช้นโยบายของรัฐเป็นเครื่องมือในการหาเสียง หากในการเลือกตั้งครั้งนั้น ผู้สมัครของพรรคที่
เป็นรัฐบาลจะเรียกประชุมก านัน ผู้ใหญ่บ้าน ว่าจะมีการโอนเงินให้แก่ผู้ถือบัตรคนจน ขอให้ไป
แจ้งลูกบ้าน และขอให้สนับสนุนเลือกพรรคที่เป็นรัฐบาลในช่วงเลือกตั้งครั้งนั้น ๆ
2.4 มีข้อสงสัยว่าจะมีการใช้บัตรเลือกตั้งปลอม เนื่องจากหลังการนับคะแนน มีพรรคหนึ่งที่มีคะแนน
อยู่ในอันดับที่ 1 - 2 ของหน่วยเลือกตั้ง ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีเสียงว่าจะเลือกผู้สมัครพรรคนี้
จึงเป็นที่สงสัยว่าผู้สมัครที่ไม่เป็นที่นิยม ได้คะแนนมาในระดับต้น ๆ ได้อย่างไร มีผู้ให้ค าตอบว่า
เกิดจาก 2 กรณี คือ กรณีที่หนึ่ง มีการใช้บัตรเลือกตั้งปลอม โดยใช้บัตรเลือกตั้งปลอมเพียงใบ
เดียว ที่คณะท างานของผู้สมัครได้กากบาทลงในช่องหมายเลขที่เลือกไว้แล้ว มอบแก่ผู้มีีสิทธิ์
เลือกตั้งในที่ลับตาคนไม่ห่างจากหน่วยเลือกตั้ง เมื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งเข้าไปในคูหา จะหย่อนบัตร
เลือกตั้งปลอมที่กากบาทไว้แล้วลงในหีบเลือกตั้ง เมื่อออกมาจากหน่วยเลือกตั้ง จะน าบัตร
เลือกตั้งตัวจริงที่ได้จากหน่วยเลือกตั้งมาคืนคณะท างานพร้อมรับเงิน จากนั้นคณะท างานจะท า
การกากบาทหมายเลขที่ต้องการลงในบัตรเลือกตั้งจริงที่ได้รับมาจากคนแรก มอบให้ผู้มีสิทธิ์
ลงคะแนนคนต่อไปน าไปหย่อยลงในหีบเลือกตั้ง แล้วน าบัตรใหม่ที่ยังไม่ได้กากบาทมาคืนใน
คณะท างาน ท าเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะหมดเวลาลงคะแนน กรณีที่สอง ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด
มีผู้พบเห็นว่า มีผู้แต่งกายคล้ายทหารมาลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งหลายครั้ง ในลักษณะเวียน
เทียนลงคะแนน
2.5 วิธีการอื่น ๆ ที่ใช้ มาจากการเลือกตั้งในช่วงปี 2540 - 2557 คือ การขนคนไปลงคะแนนด้วย
ระบบการจัดตั้ง การไปปรากฏตัวและบริจาคเงินในงานพิธีการต่าง ๆ
3. ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสิทธิขายเสียงแล้วได้รับการเลือกตั้งหรือไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ผู้ตอบได้ใช้ประสบการณ์จากการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2562 มาเป็นความคิดเห็นของผู้ตอบ
สรุปได้ดังนี้
3.1 การจ่ายเงินให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละคนไม่เท่ากัน ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีแนวโน้มเลือก
หมายเลขที่จ่ายให้มากกว่า
3.2 หัวคะแนนในหมู่บ้านจ่ายไม่ครบเต็มอัตราและจ่ายไม่ครบทุกคน เช่น ก าหนดจ่ายให้ในอัตราคนละ
500 บาท แต่หัวคะแนนหักไว้ 200 บาท แล้วจ่ายให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเพียง 300 บาท ทั้งนี้ ผู้มี
สิทธิลงคะแนนมีการตรวจสอบข่าวสารอัตราการจ่ายเงินว่า หมายเลขที่หัวคะแนนสนับสนุนนั้น
ก าหนดให้จ่ายในอัตราคนละเท่าใด จะเป็นที่ทราบโดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ตามหากหัวคะแนนที่