Page 117 - kpi21588
P. 117
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-25
เครือข่ายร่วมกับองค์กรต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง สื่อสารด้วยเทคโนโลยี IT เพื่อปลูกฝัง
ทัศนคติใหม่
5.7 แก้กฎหมาย ในประเด็นที่ส าคัญ ได้แก่
- ถ้าการซื้อสิทธิ์ขายเสียงมีมูล ให้ตัดสิทธิ์การเลือกตั้ง
- มีกฎหมายคุ้มครององค์กรต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง คุ้มครองการฟ้องร้อง คุ้มครองพยาน
และมีมาตรการคุ้มครองความปลอดภัย
- มีบทลงโทษก านัน ผู้ใหญ่บ้านที่เป็นหัวคะแนน โดยให้ปลดออกจากต าแหน่ง
6. สถานการณ์การซื้อสิทธิ์ขายเสียงในอนาคต
ผู้ตอบส่วนใหญ่เห็นว่า จะรุนแรงมากขึ้นและเกิดผลกระทบที่เลวร้ายต่อประเทศ สรุปได้ดังนี้
6.1 จะเกิดการคอร์รัปชันมากขึ้นและติดอันดับต้น ๆ ของโลก ด้วยเหตุที่ว่า เมื่อพรรคมีการลงทุนซื้อ
เสียงมากขึ้น เมื่อได้เป็นรัฐบาลจะหาทางคอร์รัปชันเพื่อหาทุนคืนและหาก าไรเพิ่ม
6.2 บ้านเมืองจะไม่มีเสถียรภาพ นักลงทุนไม่กล้ามาลงทุน เพราะพบแต่นักการเมืองคอร์รัปชัน ที่กล้า
มาลงทุนเพราะสามารถซื้อนักการเมืองได้
6.3 ในอนาคตจะเป็นการซื้อเชิงนโยบาย โดยใช้นโยบายประชานิยมมากขึ้น ท าให้คนไทยต้องพึ่งพารัฐ
แต่เพียงอย่างเดียว ท าให้รากฐานของสังคมอ่อนแอ
6.4 เกิดความขัดแย้งในชุมชน สืบเนื่องมาจากระบบเครือข่ายอุปถัมภ์ทางการเมืองในระดับปกติถึง
ระดับจังหวัด ระดับเทศบาลและ อบต. ที่แบ่งขั้วและแบ่งฝ่ายสนับสนุนซึ่งกันและกัน
7. ความคิดเห็นของผู้รวบรวมข้อมูล
7.1 การซื้อสิทธิ์ขายเสียงได้กลายมาเป็นบรรทัดฐานอย่างหนึ่งทางการเมือง โดยประชาชนรู้ว่า เมื่อมี
การเลือกตั้งต้องมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียง เป็นเรื่องปกติที่รับรู้กันทั่วไป
7.2 การแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียงต้องเป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนทัศนคติและค่านิยมใหม่
โดยใช้กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม (Socialization) มาตั้งแต่วัยเด็กและท าอย่างต่อเนื่องใน
ทุกระดับของโครงสร้างทางสังคม
7.3 คนสูงอายุรุ่นเก่ายังยึดมั่นในคุณธรรมของผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนว่า การรับเงินแล้วต้องตอบแทนคือ
คุณธรรม ขณะที่คนรุ่นใหม่มองว่ารับเงินแล้วไม่จ าเป็นต้องตอบแทน คนรุ่นใหม่สนใจนโยบายที่มี
การเปลี่ยนแปลง ควรให้คนรุ่นใหม่มีบทบาทในการต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง