Page 122 - kpi21588
P. 122
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-30
ลงมาในพื้นที่เลย อย่างสส.ไม่เคยลงมาให้เห็นหน้า จึงคิดว่าอยู่ที่ตัวผู้ลงสมัคร นโยบายพรรคที่มีผลต่อการซื้อได้
หรือไม่ได้
คนสมัยใหม่ในปัจจุบันสนใจการเมืองมากขึ้น เข้าใจการบริหารงานของนักการเมือง รู้หน้าที่ของ
ตนเองว่าต้องท าอะไรในสังคม เพื่อความอยู่รอดทางสังคม อาจท าให้ซื้อเสียงได้ยาก แต่บางครั้งความอดกลั้น
ทางการเมืองที่ยอมรับการซื้อเสียงนั้น ประชาชนอาจมีความคิดว่าเมื่อเขาเสนอเราต้องสนองท าให้เกิดการ
ยอมรับการซื้อเสียงว่าเป็นเรื่องปกติ
การรู้บทบาทตัวเองทางการเมือง ส่วนใหญ่แล้วชาวบ้านก็รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของตนเองในทาง
การเมืองแต่ก็ยังขาดจิตส านึก เขาให้เงินเรารับ ใส่ไม่ใส่แล้วแต่ความคิดของแต่ล่ะคน น่าจะอยู่ที่ความเชื่อมั่นต่อ
ผู้ลงสมัครหรือพรรคการเมืองด้วยว่าเขาท าประโยชน์ ท าอะไรให้ในพื้นที่เราบ้าง รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจที่
ต้องใช้เงินเป็นหลัก จึงไม่น่าจะมีผลต่อการซื้อได้ไม่ได้
รู้สิทธิและรู้หน้าที่ของตนเองต้องไปควบคู่กัน ถ้าคนที่รู้บทบาทของตนเอง รับเงินมา แต่จะเลือก
หรือไม่เลือกเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะทุกคนมีความคิดเป็นของตนเอง ตัดสินใจเองได้
ความอดกลั้นทางการเมือง (ยอมรับการซื้อเสียงได้) คนส่วนใหญ่ยอมรับการซื้อเสียง อยู่ที่พรรค
การเมืองแต่ล่ะพรรคว่ามีทุนมากน้อยแค่ไหน รวมถึงบางครั้งการซื้อเสียงก็เป็นการสร้างฐานคะแนนให้กับ
นักการเมืองในการลงสมัครเลือกตั้งครั้งต่อไปอีกด้วย ซึ่งการซื้อเสียงเป็นสิ่งที่นักการเมืองเขาบังคับให้เราขาย
เราไม่ได้ก าหนดว่าเราขอเงินเท่านั้นเท่านี้ แต่นักการเมืองเป็นผู้ก าหนดและน าเงินมาให้เราเอง ความอด
กลั้นทางการเมืองที่ยอมรับการซื้อเสียงได้ถือเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองไปแล้ว บางพื้นที่ชาวบ้านเบื่อ
การเมืองและรับรู้ถึงบทบาทของนักการเมืองเป็นอย่างดี แต่เมื่อให้เงินมาก็รับไว้และเลือก ส่งผลให้เกิดการ
ยอมรับการซื้อเสียงว่าเป็นเรื่องปกติดังกล่าวแล้ว ส่วนกิจกรรมทางการเมืองในพื้นที่ปัจจุบันมีเยอะ ตั้งแต่เด็ก
จนถึงผู้สูงอายุ คิดว่ามีผลอยู่เหมือนกัน
วัฒนธรรมทางการเมือง ความเป็นพลเมือง ทุกหัวข้อที่กล่าวมามีผลทั้งหมด ปัจจุบัน ตัวบุคคลคือสิ่ง
ส าคัญ ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ซื้อแล้วได้ ซื้อแล้วไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความพอใจของตัวบุคคลมากกว่า เพราะแต่
ละพื้นที่มีตัวแปรต่างกัน
วัฒนธรรมทางการเมืองมีส่วน เช่น ญาติลงสมัครก็ต้องลงคะแนนให้ การที่นักการเมืองเข้ามา
ช่วยเหลือในชุมชนก็มีส่วน ในอดีตเชื่อพ่อ แม่ บุคคลในครอบครัว บอกว่าต้องลงคะแนนให้คนนี้นะ แต่ปัจจุบัน
ยังเหลือแค่บางส่วนเท่านั้น
ทางภาคใต้จะมีการให้เกียรติกัน อย่างคนที่นับถือกัน นักการเมืองที่เคารพกันมาช้านาน เคารพกัน
และรักกันมานาน ช่วยเหลือในชุมชนก็มีส่วนเช่นกัน แม้จะไม่ใช่ญาติสนิทแต่ก็ลงคะแนนให้