Page 124 - kpi21588
P. 124
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-32
การสื่อสารในพื้นที่สื่อในชุมชนไม่มีบทบาทแล้ว ส่วนใหญ่อ านาจจะอยู่ที่ผู้น าทั้งหมด ชาวบ้านก็ไม่มี
การสื่อสารกันเองแม้แต่ในครอบครัว ต่างคนต่างคิด แล้วก็ไม่สามารถมาชี้แนะกันได้ ต่างคนต่างมีสื่อในมือ
เฟสบุ้ค ไลน์ ทุกคนมีหมด อยู่ที่ดุลยพินิจของแต่ละบุคคล การสื่อสารในชุมชนอาจมีผลน้อยมาก
สื่อที่ส าคัญและเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในชนบทส่วนใหญ่ ก็คือ สภากาแฟ ( ร้านน้ าชา
กาแฟ ) แต่ก็จะพูดถึงการพนันส่วนใหญ่ วิเคราะห์ใครจะแพ้ใครจะชนะ ส่วนการสื่อสารแบบอื่นๆไม่มี นอกจาก
ภาครัฐเป็นคนจัดเอง ตามที่ดูๆมาในทุกพื้นที่การสื่อสารในชุมชน ส่วนใหญ่ไม่มีผลต่อการซื้อแล้วได้ ซื้อแล้ว
ไม่ได้เพราะการซื้อเสียงท าได้หลายรูปแบบ มีการท ากิจกรรมก็เป็นการซื้อเสียงได้ มีหลากหลายรูปแบบที่แยบ
ยล อยู่ที่นักการเมืองมากกว่าว่ากลัวหรือไม่กลัวที่จะซื้อเสียง ถ้าไม่กลัว ประชาชนก็ไม่กลัวที่จะขายเสียง จึงต้อง
แก้ที่นักการเมืองไม่ใช่ประชาชน
กล่าวได้ว่า ถ้าประชาสัมพันธ์เข้าถึงเยอะๆ จากสื่อต่าง สิ่งเหล่านี้จึงมีผล หลายพื้นที่ชาวบ้านสื่อสาร
กันเองเป็นกลุ่ม ประชาชนค้นหาข่าวสารได้ด้วยตัวเอง การประชาสัมพันธ์ ข่าวสารต่างๆมีมากขึ้น เข้าถึงง่ายขึ้น
บางพื้นที่มีการสื่อสารเยอะมาก แต่บางพื้นที่ไม่มีการสื่อสารเลย สิ่งเหล่านี้จึงมีผลต่อการซื้อได้แล้วซื้อไม่ได้ แต่ก็
จะใช่ในทุกพื้นที่เสมอไป แม้การสื่อสารดี ทฤษฎีดี แต่หลักการปฏิบัติชาวบ้านก็ยังรับเงินอยู่ดี พฤติกรรมคนยัง
ไม่เปลี่ยน ทุกคนเบื่อการเมืองแต่ยังอยากได้เงินอยู่ดี คิดว่าอยู่ที่ความคิด ความเข้าใจของแต่ล่ะคน การสื่อสาร
อาจมีผลแต่น้อย
3.4 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงหรือส่งเสริมการเลือกตั้งที่สุจริต
เที่ยงธรรม ในอดีตที่ผ่านมา
รัฐไม่มีเวทีให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น ไม่เปิดโอกาสให้น าเสนอ ส่วนใหญ่ให้มานั่งฟังนโยบายชี้แจง
ในสิ่งที่รัฐจัดสรร ออกแบบมาแล้วทั้งหมด อย่างไรก็ตามมีทั้งรัฐไม่เปิดโอกาส แต่บางครั้งแม้เปิดโอกาส
ประชาชนเองไม่สนใจ คิดว่าเลือกไปก็แค่นั้น ละเลยหน้าที่ ไม่เข้าใจหน้าที่ คิดว่าเป็นหน้าที่ของประเทศ ของ
นักการเมือง ไม่ใช่หน้าที่ตน การเมืองเป็นเรื่องน่าเบื่อ
3.5 แนวทางการป้องกันและแก้ไขการซื้อสิทธิขายเสียง
ต้องแก้รัฐธรรมนูญ การเขียนต้องเขียนในมุมกว้าง อย่าลงลึกเพราะจะไม่สามารถปฏิบัติจริงได้ ต้องเขียน
ให้มีความยืดหยุ่นได้สูง เพราะการเขียนรัฐธรรมนูญเป็นเจตนารมณ์ของคนที่อยู่ร่วมกันในสังคม ควรแก้
กฎหมายให้ประชาชนมีอิสระในทางความคิด ต้องการให้ใครเป็นผู้แทนก็สามารถน าเสนอได้ เช่น เมื่อประชาชน
เลือกผู้แทนเข้าไปแล้ว แต่กลับไปขัดนโยบายของพรรค จะมีบทลงโทษแค่การพ้นจากสมาชิกของพรรค กลับ
ต้องหลุดพ้นจากการสมาชิกสภาผู้แทนด้วย อย่างนี้เท่ากับอ านาจของพรรคการเมืองครอบง าสิทธิประชาชน ซึ่ง
เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นรัฐธรรมนูญที่ควรแก้ไข เพิ่มกฎหมายผู้ซื้อ ผู้ขาย บทลงโทษให้หนัก กฎหมายที่มีอยู่ควร
น ามาใช้อย่างเคร่งครัด ปัจจุบันถูกปล่อยปละละเลย ไม่เคยน ามาใช้อย่างจริงจัง เขียนเสร็จทิ้งไว้เฉยๆ แม้มีการ
ร้องเรียนก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ กฎหมายการเลือกตั้ง ผญบ. อบต. การเลือก สส. ใช้คนละฉบับ ท าให้เกิด
ความแตกแยก เกลียดชัง จึงต้องมีการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งทุกระดับให้ใช้ฉบับแบบเดียวกัน