Page 125 - kpi21588
P. 125
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-33
3.6 สถานการณ์การซื้อสิทธิขายเสียงในอนาคต (หากปล่อยให้เป็นไปตามเช่นที่ผ่านมา และหาก
ด าเนินการแก้ไข/ป้องกันตามแนวทางที่เสนอในข้อ 5)
หากปล่อยให้เป็นไปตามเช่นที่ผ่านมา ทุกอย่างเหมือนเดิมแต่ที่เพิ่มขึ้นคือเงิน ใช้จ านวนมากขึ้น ซื้อ
จ านวนคนได้มากข้น ขยายวงกว้างขึ้น ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น ซื้อได้เกือบทุกหย่อมหญ้า แค่วิธีการต่างออกไป
เช่น มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเพื่ออ านวยความสะดวก
สถานการณ์จะรุนแรงมากขึ้น ด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง ความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งในเขตเมือง
และนอกเขต ด้วยเศรษฐกิจที่ถดถอย หาเงินยากขึ้นเงินกลายมาเป็นวัตถุที่ต้องจ าเป็นใช้มากขึ้น การซื้อเสียงจึง
กลายมาเป็นทวีความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น แข่งขันกันมากขึ้น จึงมีการลงทุนเยอะขึ้นเพื่อหวังเข้าไปสู่การใช้
งบประมาณ ไม่ได้เข้าไปเพื่อช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับประชาชนจริงๆ
หากด าเนินการแก้ไข/ป้องกันตามแนวทางที่เสนอในข้อ 5 หากมีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มการลงโทษ
และที่ส าคัญคือ ถ้าการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง การซื้อขายเสียงก็จะคลี่คลาย อย่างไรก็ตามยังมีแนวคิด
ที่ว่า ถ้าเรายอมรับการซื้อเสียง แล้วต่างคนต่างซื้อ การซื้อเสียงไม่จ าเป็นต้องป้องกัน ปล่อยให้ซื้อกันโดยอิสระ
ไปเลย เงินจะได้กระจายลงพื้นที่และที่ส าคัญมันจะหายไปเอง เพราะประชาชนมีความรู้ทางการเมืองมากขึ้น
3.7 ความคิดเห็นของผู้รวบรวมข้อมูล (เพิ่มเติม) เกี่ยวกับการซื้อสิทธิขายเสียงในจังหวัด
นครศรีธรรมราช
หากประเทศไทยยังใช้วิธีการเลือกตั้งตามกติกาที่เป็นอยู่ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาการซื้อเสียงได้ ข้อเสนอ
ของผู้รวบรวมข้อมูลก็คือ การเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นต้องให้สิทธิกับชาวบ้านทุกคนที่จะมีโอกาสเป็นตัวแทน
กล่าวคือ ไม่จ าเป็นต้องมีผู้สมัครและให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าคูหาเขียนชื่อผู้ที่เขาต้องการให้เป็นตัวแทนคนละ 5
ชื่อ แล้วมานับรวมคะแนนของรายชื่อต่างๆที่ชาวบ้านเขียนก็จะได้ตัวแทนตามล าดับคะแนนดังรายละเอียดใน
บทความภาคผนวก ส่วนการเลือกตั้งในระดับชาติก็อาจใช้แบบมีผู้สมัครแต่ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่าง
จริงจังและมีบทลงโทษให้หนัก ข้อเสนออีกข้อก็คือ การน าเทคโนโลยี block chain และ smart contract มา
ใช้ในการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความสุจริตและเที่ยงธรรม