Page 103 - kpi21588
P. 103

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   7-11



                       ว่าการตัดสินใจลงคะแนนเสียงให้กับใครเป็นสิทธิของตนเอง ความเจือจางของความเชื่อเรื่องบาปบุญ ที่ว่ารับ

                       เงินแล้วต้องเลือก ได้ลดความส าคัญลงไปมาก

                               ปัจจัยที่สี่ ปัจจัยส าคัญประการหนึ่งที่ท าให้ไม่มีการซื้อสิทธิขายเสียงเกิดขึ้นในพื้นที่ น่าจะเป็นผลมา

                       จากความล้มเหลวในการซื้อสิทธิขายเสียงในอดีตที่ผ่านมา ในอดีตเคยมีหัวคะแนนเข้ามาในพื้นที่ โดยจะเข้ามา
                       ติดต่อกับคนรู้จักในชุมชน “...แจกไปเขาก็คิดว่าไม่ได้เต็ม 100% ซื้อใจคนจะเอาไม่เอาเราไม่รู้”


                               บางพื้นที่ซื้อได้หรือซื้อไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเหนียวแน่นกับ ส.ส. กับพรรค ดังนั้น นักการเมืองที่ไม่ทิ้ง
                       พื้นที่ จะท าให้คนอื่นมาซื้อยากและตัวนักการเมืองคนนั้นก็ไม่จ าเป็นต้องซื้อ แต่พื้นที่ที่ไม่มีความผูกพันหรือ

                       เหนียวแน่นกับ ส.ส. พรรคการเมือง ก็มีคนเห็นโอกาสในการเข้ามาใช้เงินซื้อเพื่อเปลี่ยนความสนใจของ
                       ประชาชนได้ ในอีกประเด็นคือ การเคลื่อนย้านถิ่นฐาน ไปท างานที่อื่น กลับมาบ้านเพื่อมาเลือกตั้งโอกาสในการ

                       รับเงินมีสูงเพราะไม่มีความผูกพันกับพื้นที่ ดังนั้น พรรคการเมืองกับ ส.ส.ต้องท างานในพื้นที่มากขึ้น เพื่อสร้าง
                       ความเชื่อใจและได้ใจคนในพื้นที่ การซื้อสิทธิขายเสียงคือการใช้เงินในช่วงเลือกตั้ง แต่การสร้างบุญคุณใน

                       ช่วงเวลาที่ไม่ใช่ช่วงเลือกตั้งกลับมีอ านาจมากกว่าเงิน เพราะมันเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมชุมชน

                          1.4  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียงหรือส่งเสริมการเลือกตั้งที่สุจริต

                              เที่ยงธรรม ในอดีตที่ผ่านมา

                               ที่ผ่านมากล่าวได้ว่าบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียง

                       เลือกตั้ง เป็นเพียงบทบาทในการรณรงค์การออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งและรณรงค์การไม่ท าผิดกฎหมายเลือกตั้ง

                       ร่วมกับหน่วยงานรัฐทั้งฝ่ายปกครองและ กกต. ส่วนบทบาทในการตรวจสอบการเลือกตั้งหรือร้องเรียนการ
                       เลือกตั้งเป็นบทบาทที่คาบเกี่ยวไปกับการเป็นผุ้สนับสนุนพรรคการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดคนหนึ่งที่

                       ท าให้ประชาชนต้องคอยตรวจสอบการกระท าความผิดของฝ่ายตรงกันข้าม

                               ประเด็นที่น่าสนใจคือ การที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้มีความรู้สึกรังเกียจการซื้อสิทธิขายเสียง ไม่ได้

                       ปฏิเสธการมีอยู่ของการซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้ง จึงไม่ได้คิดว่าการป้องกันคือ วิธีการในการแก้ไขปัญหาการซื้อ
                       สิทธิขายเสียง แต่ควรท าให้การซื้อเสียงไม่ได้ผลคือ การรับเงินแต่ไม่เลือกเป็นวิธีคิดที่ท าให้เงินซื้อเสียงไม่มีค่า

                       มากพอเท่ากับการลงคะแนนเสียงเลือกพรรคการเมืองที่เน้นนโยบายหรือเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่

                       ช่วยเหลือพื้นที่อย่างแท้จริง

                               ปรากฏการณ์ของการซื้อสิทธิขายเสียงที่บางพื้นที่ซื้อได้หรือซื้อไม่ได้ ขึ้นอยู่กับความเหนียวแน่นกับ
                       ส.ส. กับพรรค ดังนั้น นักการเมืองที่ไม่ทิ้งพื้นที่ จะท าให้คนอื่นมาซื้อยากและตัวนักการเมืองคนนั้นก็ไม่

                       จ าเป็นต้องซื้อ แต่พื้นที่ที่ไม่มีความผูกพันหรือเหนียวแน่นกับ ส.ส. พรรคการเมือง ก็มีคนเห็นโอกาสในการเข้า

                       มาใช้เงินซื้อเพื่อเปลี่ยนความสนใจของประชาชนได้ ในอีกประเด็นคือ การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ไปท างานที่อื่น
                       กลับมาบ้านเพื่อมาเลือกตั้งโอกาสในการรับเงินมีสูงเพราะไม่มีความผูกพันกับพื้นที่ ดังนั้น พรรคการเมืองกับ

                       ส.ส.ต้องท างานในพื้นที่มากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อใจและได้ใจคนในพื้นที่ การซื้อสิทธิขายเสียงคือการใช้เงิน
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108