Page 101 - kpi21588
P. 101

ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย   7-9



                       เงิน แต่ไม่ใช่เงินส่วนตัวหรือของพรรคการเมือง โดยเฉพาะมีความชอบธรรมมากกว่าการซื้อสิทธิขายเสียง

                       แบบเดิม เพราะประชาชนได้ประโยชน์และเป็นบทบาทหน้าที่ของรัฐในการต้องด าเนินนโยบาย “...ชาวบ้าน
                       อยากได้เงิน แต่เขาจะเลือกไม่หรือไม่เป็นเรื่องเขา ไม่เลือกคนที่ไม่ถูกใจ”


                               ปัจจุบันความคิดของผู้คนเปลี่ยนแปลงไปนโยบายของรัฐไม่ได้เป็นการซื้อสิทธิขายเสียงทั้งหมด
                       หากแต่เป็นสวัสดิการที่ควรได้รับ ส่งผลให้บทบาทของหัวคะแนนในพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป โดยท าหน้าที่เป็นเพียง

                       ผู้ส่งข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ให้แก่คนในชุมชน อาทิเช่น นโยบาย ผลงาน การประสานงานด้านต่าง ๆ เป็นต้น
                       อย่างไรก็ตามข้อมูลจากผู้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เชื่อว่ารูปแบบการซื้อสิทธิขายเสียงผ่านนโยบายจะเป็นรูปแบบหลัก

                       ในอนาคตและได้ผลมากกว่าการจ่ายเงินซื้อเสียงในช่วงเลือกตั้ง

                               การซื้อสิทธิขายเสียงปรากฏในพื้นที่มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “หัวคะแนน” เป็นผู้ท าหน้าที่

                       ประสานงานระหว่าง ส.ส./ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กับผู้คนในพื้นที่ โดยท าหน้าที่กระจายข้อมูลข่าวสารการ
                       ท างาน ผลงงานการพัฒนา นโยบายของพรรคการเมืองและที่ส าคัญคือ การเข้าไปรับรู้ปัญหาความต้องการของ

                       แต่ละชุมชน น าไปสู่การสร้างข้อตกลงร่วมกัน หากได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. จะให้งบประมาณ/พัฒนาชุมชน

                       ในด้านต่าง ๆ  หรือที่เรียกว่า “สัญญาใจ” การซื้อสิทธิขายเสียงเป็นการให้เงินทางอ้อมเพื่อให้คนลงคะแนน
                       เสียงให้ตนเอง


                               ในปัจจุบันมีการซื้อสิทธิขายเสียงผ่านนโยบาย คนบางกลุ่มเลือกพรรคการเมืองดังกล่าว เพราะได้รับ
                       ผลประโยชน์ น าไปสู่การตั้งค าถามว่า เงินเหล่านี้มีที่มาอย่างไร และกังวลกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการ

                       เลือกตั้ง การซื้อสิทธิขายเสียงในพื้นที่ที่มีการเก็บข้อมูลมีตั้งแต่ 200 - 500 บาทต่อคนหรือ จ่ายในรูปแบบของ

                       การให้ค่าตอบแทนในการอบรม  พรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้งในบางพื้นที่จ่ายหัวคะแนนมา 800 –
                       1,000 บาท แต่หัวคะแนนหักออกไปบางส่วน การซื้อสิทธิขายเสียงเป็นการซื้อแบบมีระดับและระยะเวลา เช่น

                       การพาผู้น าไปเที่ยว การซื้อผู้น าจ านวนมาก การให้สิ่งของแก่ชุมชน หรือแม้แต่การสนับสนุนทางการเมืองให้แก่
                       ผู้น าชุมชนระกับหมู่บ้านให้มีบทบาทหรือลงเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นต่อไป


                               4) การซื้อหัวคะแนน มีการซื้อหัวคะแนนของพรรคอื่นๆ ซึ่งก็คือผู้น าชุมชนเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะ
                       ในช่วงเวลาของสุญญากาศทางการเมืองที่ไม่มีการเลือกตั้งมาเป็นเวลานาน ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่เป็นที่รู้จัก

                       หรือไม่ได้ลงพื้นที่สม่ าเสมอจ าเป็นต้องใช้วิธีการ short cut ด้วยการซื้อหัวคะแนนมากกว่าการไปลงพื้นที่ ซึ่ง
                       ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีภูเขาและพื้นที่ห่างไกลที่ท าให้บทบาทหลัก

                       ของการรณรงค์หาเสียงให้ผู้สมัครเลือกตั้งตกไปเป็นของหัวคะแนนหรือผู้น าชุมชนในพื้นที่ การซื้อหัวคะแนนมี

                       ค่าใช้จ่ายสูงหลักหมื่นและหลักแสนขึ้นอยู่กับความสามารถและอิทธิพลของหัวคะแนนคนนั้น

                                  อย่างไรก็ตาม เงินจากการซื้อสิทธิขายเสียงยังคงมีอิทธิพลต่อหัวคะแนนเท่านั้น หลายพื้นที่มีการ

                       ซื้อหัวคะแนน เพื่อท าหน้าที่เป็นตัวกลางเป็นระหว่างนักการเมืองและชุมชนในการพูดคุยแลกเปลี่ยนข่าวสาร
                       ต่าง ๆ ตลอดจนชี้น าให้เลือกผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106