Page 96 - kpi21588
P. 96
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-4
ลักษณะทางวัฒนธรรมของชุมชน คือ การช่วยเหลือเกื้อกูล การมีโครงสร้างของการเป็นผู้น าและผู้ตามที่ชัดเจน
ท าให้ความสัมพันธ์เชิงอ านาจในการเลือกตั้งเป็นโครงสร้างแนวดิ่งระหว่างพรรคการเมือง นักการเมือง ผู้น า
ชุมชน และประชาชน นับตั้งแต่การเลือกตั้งในอดีตจนถึงปัจจุบัน การซื้อสิทธิขายเสียงกลายเป็นกิจกรรมทาง
การเมืองของกลุ่มการเมืองในพื้นที่นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พัฒนาการของการซื้อสิทธิขายเสียงมีความ
เปลี่ยนแปลงไปในส่วนของรูปแบบและวิธีการ ที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามบริบท ผู้คน และกฎหมาย หากแต่สิ่งที่
ไม่เปลี่ยนและเป็นแกนหลักของพัฒนาการคือ การใช้เงินและการใช้ผู้น า ในอดีตที่ผ่านมาในการเลือกตั้งมีการใช้
เงินมากมหาศาลในช่วงโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งหรือที่เรียกว่าคืนหมาหอน มีการส่งสายตรวจตรา เฝ้าจับตา
กลุ่มผู้สนับสนุนทางการเมือง หัวคะแนน และนักการเมืองท าให้การเลือกตั้งมีการต่อสู้ ปะทะรุนแรง มีการ
ควบคุมหัวคะแนนฝ่ายตรงกันข้าม มีการเอาตัวหัวคะแนน ผู้น าชุมชนไปกักตัวไว้ซึ่งเป็นยุคที่มีการใช้อ านาจและ
อิทธิพลมาใช้ระหว่างการเลือกตั้ง บรรยากาศของการเลือกตั้งมีอิทธิพลครอบคลุมที่ท าให้ชาวบ้านเกิดความกลัว
การซื้อสิทธิขายเสียงจึงเป็นวิธีการที่ถือเป็นการใช้ความรุนแรงอีกรูปแบบหนึ่งของประชาชนเพราะการรับเงินมี
ความหมายถึงการรับปากและค ามั่นสัญญา เพราะหากไม่ปฏิบัติตามจะมีผลต่อทั้งชุมชนและผู้น าที่ท าหน้าที่ใน
การเป็นหัวคะแนนด้วย
ในยุคของการกระจายอ านาจหลังปี 2535 เป็นต้นมา การกระจายอ านาจที่น ามาสู่การเลือกตั้งใน
ระดับท้องถิ่น การซื้อสิทธิขายเสียงยังคงเป็นปัจจัยส าคัญในการชนะการเลือกตั้ง แต่ความเชื่อมโยงระหว่าง
นักการเมืองระดับท้องถิ่นกับ ส.ส.และพรรคการเมืองในพื้นที่เข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนการเลือกตั้งระดับ
ท้องถิ่นเพื่อสร้างเครือข่ายฐานคะแนนเสียง ดังนั้น การซื้อสิทธิขายเสียงจึงเปรียบเสมือนการซื้อพื้นที่และการคง
รักษาคะแนนเสียงเพื่อการเลือกตั้งระดับชาติต่อไป ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองระดับชาติกับนักการเมือง
ระดับท้องถิ่นจึงเป็นความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้การซื้อสิทธิขายเสียงในอดีตจะปรากฏในรูปแบบของการสัญญาว่าจะพัฒนา จะให้ทั้ง
สิ่งของ นโยบายที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของพื้นที่ และที่ส าคัญคือ งบประมาณ ส าหรับการ
พัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ซึ่งปูรากฐานของการเป็น ส.ส. นักพัฒนา อ านาจในน างบประมาณมา
ลงในพื้นที่จังหวัดหรือเขตเลือกตั้งของตน ภาพลักษณ์ของนักการเมืองจึงเป็นภาพลักษณ์ของผู้น าพาความเจริญ
และคุณภาพชีวิตมาสู่ชุมชนท าให้ความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างประชาชนและนักการเมืองหรือ ส.ส.ใน
พื้นที่มีความแนบแน่นและสร้างฐานอ านาจต่อรองต่อตัวนักการเมืองที่มีในพรรคการเมืองได้มากขึ้น
จนมาในยุคหลังรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ระบบการเลือกตั้งน ามาสู่บทบาทของพรรคการเมืองและ
นโยบายพรรคมากขึ้น เมื่อความนิยมในตัวบุคคลกลายมาเป็นความนิยมในพรรคการเมือง ท าให้นโยบายพรรค
ที่ใช้ในการหาเสียงกลายเป็นสิ่งที่มีความส าคัญเพิ่มมากขึ้น แต่การซื้อสิทธิขายเสียงยังคงปรากฏอยู่เพราะ
กระแสพรรคที่แข่งขันกันระหว่างพรรคเก่ากับพรรคใหม่ การครองพื้นที่ท าให้เงินกลายเป็นปัจจัยส าคัญของการ
ช่วงชิงพื้นที่และรักษาพื้นที่ ในช่วงการเลือกตั้งยุคนี้ สิ่งที่ปรากฏชัดเจนคือการใช้นโยบายเป็นช่องทางของการ
สร้างความนิยม ข้อถกเถียงจ านวนมากและข้อมูลจากการสัมภาษณ์มีการมองที่แตกต่างกัน พบว่านโยบาย
ประชานิยมหรือนโยบายในการหาเสียงไม่ใช่เรื่องผิด เพราะผลประโยชน์ที่ได้จากนโยบายเป็นผลประโยชน์ที่คน