Page 95 - kpi21588
P. 95
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-3
ภาคผนวก ข
สรุปข้อมูลความเห็นในพื้นที่ภูมิภาค
1. จังหวัดเชียงใหม่
การเก็บข้อมูลนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 – กันยายน 2563 โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-
depth Interviews) และการสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus-group Interviews) จ านวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 30 คน จาก
ข้อมูลที่มีการสัมภาษณ์พบว่าผู้ให้ข้อมูลทุกคนแม้แต่แกนน าเยาวชนที่มีอายุน้อยที่สุดคือ อายุ 13 ปี ก็รู้จักค าว่า
“การซื้อสิทธิขายเสียง” แม้เยาวชนจะเป็นกลุ่มที่ไม่เคยมีประสบการณ์หรือเคยเห็นการซื้อสิทธิขายเสียง
โดยตรง แต่ต่างมีข้อมูลจากค าบอกก็เล่าของคนในครอบครัว คนในชุมชน แม้กระทั่งจากการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ในช่วงของการเลือกตั้งที่โรงเรียนกับเพื่อนนักเรียน ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ต่างมองว่าการซื้อสิทธิขาย
เสียงเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงแม้ไม่ต้องมีประสบการณ์ เปรียบเสมือนวัฒนธรรมหนึ่งของคนไทย แม้ทุกคนรู้ว่าการซื้อ
สิทธิขายเสียงเป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่ถูกต้องแต่สังคมไทยขาดไม่ได้เพราะการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของ
สังคมการเมืองไทย เป็นการยึดโยงความสัมพันธ์ การช่วยเหลือเกื้อกูลกันแบบอุปถัมภ์ระหว่างผู้น ากับประชาชน
ดังนั้นการพยายามสร้างมายาคติว่าเงินจากการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นเงินช่วยเหลือ เป็นเงินที่ได้ประโยชน์ต่าง
ตอบแทนท าให้หล่อเลี้ยงการซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้งด ารงอยู่ได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน อย่างไรก็ตามผู้ให้ข้อมูล
ส่วนใหญ่ต่างเห็นว่าในอนาคตการซื้อสิทธิขายเสียงน่าจะมีแนวโน้มความรุนแรงลดลง เพราะรูปแบบการซื้อสิทธิ
ขายเสียงเปลี่ยนไป จากการซื้อสิทธิขายเสียงด้วยเงิน การใช้อ านาจก าลังหรืออิมธิพล มาสู่การแลกเปลี่ยน
ผลประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น นโยบาย ความช่วยเหลือด้านสิ่งของ คุณภาพชีวิต ที่ไม่จ าเป็นต้องท าเฉพาะ
ในช่วงเวลาของการเลือกตั้งอีกต่อไป แต่จะยังคงมีให้เห็นอยู่เพราะความยากจนยังคงมีอยู่ในสังคมและเป็นตัว
แปรส าคัญที่ท าให้การซื้อสิทธิขายเสียงยังคงด ารงได้อยู่ด้วย
1.1 พัฒนาการการซื้อสิทธิขายเสียงในจังหวัด (จากอดีต – ปัจจุบัน)
การซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้งเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเลือกตั้งใน
สังคมการเมืองไทย รากฐานของการซื้อสิทธิขายเสียงปฏิเสธไม่ได้ว่าคือ การช่วยเหลือเกื้อกูล การให้
ผลตอบแทนซึ่งกันและกัน มีความยึดโยงกับระบบจารีตประเพณี ความเชื่อของชุมชนไทยในอดีตมาอย่าง
ยาวนาน การซื้อสิทธิขายเสียงในอดีตปรากฏให้เห็นในช่วงเวลาทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการเลือกตั้ง แม้
การเมืองและโครงสร้างทางการเมืองจะมีความเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงแต่การซื้อสิทธิ
ขายเสียงเลือกตั้งยังคงปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในการเลือกตั้ง แต่แค่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการและรูปแบบ
ของการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นไปตามยุคสมัย
สถานการณ์การเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่กล่าวได้ว่ามีความเชื่อมโยงอย่างแนบแน่นระหว่าง
นักการเมืองระดับชาติกับนักการเมืองและผู้น าระดับท้องถิ่น ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ที่เกิดคู่ขนานไปกับ