Page 97 - kpi21588
P. 97
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-5
จ านวนมากได้รับ เป็นผลประโยชน์ทางสังคม แต่ในอีกทางหนึ่ง เมื่อนโยบายกลายเป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ
การให้เงินหรือให้ประโยชน์บางอย่างอย่างชัดเจนต่อกลุ่มบางกลุ่ม สร้างสภาวะความพึ่งพิงต่อรัฐบาลหรือพรรค
การเมืองมากขึ้นจึงเปรียบเสมือนเป็นการซื้อสิทธิขายเสียงเช่นกันเพียงแค่ไม่ได้กระท าในช่วงเวลาของการ
เลือกตั้ง หรือแม้แต่ในปัจจุบันเมื่อสภาวะทางการเมืองไม่ปกติ การประกาศนโยบายของรัฐบาลในช่วงเวลา
ระหว่างมีการใช้พระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งก็ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการซื้อสิทธิขายเสียงเช่นกัน แต่
กระท าผ่านระบบงบประมาณรัฐที่ชอบธรรมด้วยบทบาทของรัฐบาล
ในการเลือกตั้งวันที่ 24 มีนาคม 2562 ของจังหวัดเชียงใหม่มีเขตเลือกตั้งทั้งหมด 9 เขตเลือกตั้ง ซึ่ง
พรรคเพื่อไทยชนะทั้ง 9 เขต จนกระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ที่ท าให้เขต 8 มีผู้ชนะการเลือกตั้งมาจากพรรคอนาคต
ใหม่ ข้อสังเกตส าคัญในการเลือกตั้งครั้งนี้ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้งคือ
แม้จะมีโอกาสของพรรคพลังประชารัฐที่คาดกันว่าสามารถเจาะฐานคะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทยผ่านกลไก
และอ านาจทางการเมืองหลายรูปแบบได้ แต่ปรากฎว่าไม่สามารถชนะได้แม้แต่เขตเดียว เหตุผลหลักคือเรื่อง
ของ การวางยุทธศาสตร์การรักษาพื้นที่ผ่านกลไกท้องถิ่น เครือข่ายการเมืองท้องถิ่นที่เข้มแข็งของพรรคเพื่อไทย
วัฒนธรรมพวกพ้องของคนในพื้นที่ ความนิยมของอดีตผู้น าพรรคไทยรักไทย จนเกิดฐานคะแนนและความ
จงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมือง แต่ข้อมูลยังปรากฎให้เห็นการพยายามต่อสู้กันระหว่างพรรค
การเมืองต่างๆ ผ่านเงินซื้อเสียงซึ่งมาจากหลากหลายแหล่ง หลากหลายกลุ่มและพรรคการเมืองกระจายไปตาม
พื้นที่เขตต่างๆ ด้วย
ดังนั้น การซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้งด าเนินมาอย่างต่อเนื่อง แม้วิธีการและความหมายของการซื้อ
สิทธิขายเสียงอาจมีความแตกต่างออกไปตามบริบทแวดล้อม ปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้ง
การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการเมืองของประชาชน ที่ส่งผลให้เงินซื้อเสียงมีความซับซ้อน เห็นได้จากการ
ตัดสินใจลงคะแนนของประชาชนเปลี่ยนไปแม้ตัวแปรต้นคือเงินจากการซื้อสิทธิขายเสียงเลือกตั้ง แต่ไม่ได้ส่งผล
ต่อตัวแปรตาม คือ การมอบสิทธิและเสียงให้เสมอไปอีกต่อไป หากแต่มีตัวแปรหรือปัจจัยอื่นที่ท าให้ประชาชน
ไม่ได้มองที่เงินเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปมองที่ตัวบุคคล การให้ความส าคัญต่อการพัฒนาพื้นที่ของนักการเมือง
ส.ส. การที่ประชาชนรู้จักคุ้นเคยและมีความสามารถในการเป็นตัวแทนทางการเมืองได้อย่างแท้จริง
1.2 รูปแบบการซื้อสิทธิขายเสียงในปัจจุบัน
นิยามความหมายของการซื้อสียง มีความเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตถึงปัจจุบัน หากฟังจากผู้ให้ข้อมูล
ซึ่งมีช่วงอายุตั้งแต่เยาวชนจนถึงผู้สูงอายุพบว่าการให้นิยามของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นกลุ่มผู้น าซึ่งเคยมี
ประสบการณ์กับการได้รับเงินซื้อเสียงมองว่าเงินซื้อเสียงเปรียบเสมือนค่าตอบแทน “...ค่าตอบแทน ค่านั่งฟัง
นโยบายขายฝัน...” ส าหรับคนที่เข้าร่วมการปราศรัย และเป็นเรื่องของ “บุญคุณ” ได้รับเงินต้องตอบแทน โดย
การลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครหรือพรรคการเมืองนั้น เงินจากการซื้อสียงจึงเหมือนค่าจ้างในการให้ท างานหรือ
รับจ้างกิจกรรมหนึ่งๆ แต่ในความหมายของกลุ่มเยาวชนมองว่าการซื้อสิทธิขายเสียงคือความหมายเดียวกันกับ
การคอรัปชั่น แต่ส่วนใหญ่ของผู้ให้ข้อมูลต่างมองว่าผู้ที่มาซื้อเสียงหรือนักการเมืองที่ซื้อเสียงเป็นฝ่ายที่ท าผิด