Page 105 - kpi21588
P. 105
ร่างรายงาน บทบาทของพลเมืองในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาธิปไตยไทย 7-13
ชาวบ้านจะพิจารณาจากสิ่งที่ ส.ส. ท าประโยชน์แก่ชุมชน ทั้งนี้ ในฐานะของคนรุ่นใหม่ ก่อนและหลังการ
เลือกตั้งมีการลงพื้นที่ส ารวจความคิดเห็นและให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้งแก่คนในชุมชน
5.3 การแก้ไขกฎหมายและบทบาท กกต. การป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
นอกจากการให้ความรู้แก่คนทั่วไป ภาครัฐ กกต. และกฎหมายต้องมีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่
และการปฏิบัติหน้าที่ ท าให้มีความประนีประนอมและการท างานของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้อง
ด าเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ รัฐบาลต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพิ่มมากขึ้น อาจเปิด
พื้นที่ในโลกออนไลน์ให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมมากขึ้น กฎหมายที่มีที่จริงมีความรุนแรง มีบทลงโทษชัดเจนแล้ว
แต่ผู้ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด สังคมไทยเป็นสังคมแห่งพวกพ้องท าให้ กกต.เองก็ไม่อาจ
ต้านอ านาจที่เหนือกว่าหรือมีเครือข่ายความสัมพันธ์กับนักการเมืองที่อาจมีผลต่อการท าหน้าที่ตามกฎหมาย
ข้อเสนอหนึ่งจากการสัมภาษณ์คือ การสร้างองค์กรอิสระที่เป็นองค์กรภาคประชาชน โดยให้คนรุ่นใหม่เข้าร่วม
ด้วย เพื่อให้ท าหน้าที่ในการตรวจสอบ สังเกตการณ์และเฝ้าระวังการทุจริตการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเป็น
เครือข่ายในการสร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนในชุมชน เพราะในหลายกรณีที่หน่วยงานของรัฐเข้าไม่ถึง
ชุมชนและประชาชนยังมีความเคลือบแคลงสงสัยในบทบาทของเจ้าหน้าที่รัฐอยู่
กฎหมายส าคัญมากหากกฎหมายเป็นที่เข้าใจ ประชาชนเข้าใจระเบียบ กฎเกณฑ์และใช้กฎหมายเป็น
กฎหมายมีพลังแต่คนปฏิบัติใช้ท าให้กฎหมายเสื่อมลง กกต. ควรมีความเป็นอิสระที่แท้จริง ประชาชนพร้อมที่
จะให้ข้อมูลแต่ต้องมีระบบและกฎหมายรองรับการร้องเรียนด้วย ประชาชนไม่มีความมั่นใจใน กกต. ประเด็นนี้
รัฐต้องตั้งค าถามว่า กกต. ควรเป็นองค์กรที่เชื่อมโยงกับประชาชนมากกว่าการท าตามค าสั่งของรัฐ ขั้นตอน
ระเบียบราชการ และการให้ความรู้ของ กกต. ยังคงเป็นปัญหา ดังนั้นควรมีการแก้ไขกฎหมายและบทบาท
กกต. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการเลือกตั้ง ให้ความรู้แก่คนทั่วไป
การมีระบบการร้องเรียนที่มีประสิทธิภาพและสร้างความมั่นใจ ปลอดภัยต่อผู้ที่ร้องเรียน เพราะ
บางครั้งสายของนักการเมืองอยู่ในชุมชนสร้างความหวาดกลัว บางครั้งการร้องเรียนไม่เกิดผลแม้จะท าตาม
ขั้นตอนและแจ้งหน่วยงานราชการ อีกวิธีการหนึ่งที่ท าให้เกิดผลคือ ท าให้เงินไม่มีความหมายคือ การรับเงินแต่
ไม่เลือก ในหลายพื้นที่ท าแบบนั้น แต่ตัวของ ส.ส.เองก็มีอิทธิพลสูง ถ้านักการเมืองมีความจริงใจและเข้าหา
ประชาชนช่วยเหลือประชาชนแล้วให้ประชาชนเลือกจากความรู้สึกเป็นบุญคุณกันก็จะท าให้ไม่ต้องใช้เงิน
เพราะการใช้เงินในการเลือกตั้งเกิดจากความไม่มั่นใจที่จะชนะ
5.4 การจัดตั้งองค์กรภาคประชาชนและกลุ่มคนรุ่นใหม่
การดึงเอากลุ่มคนรุ่นใหม่มาเป็นกลไกในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งและให้ความรู้ความเข้าใจเหมือน
การเป็น “หัวคะแนนอาสา” แต่เป็นหัวคะแนนของรัฐที่ไม่ต้องออกไปโน้มน้าวคนโดยการใช้เงิน แต่เป็น
หัวคะแนนที่ให้ความรู้และโน้มน้าวคนให้ไม่รับเงินเลือกตั้งและใช้คะแนนของตนท าให้อนาคตดีขึ้น ทักษะส าคัญ
ที่คนรุ่นใหม่มีคือ ทักษะในการใช้สื่อออนไลน์ ซึ่งที่ผ่านมาพรรคการเมืองคือ กลุ่มที่ดึงเอาความสามารถของคน
รุ่นนี้ไปใช้สนับสนุนพรรคการเมืองมาก โดยเป็นผู้สนับสนุน เป็นแฟนคลับ เป็นทีมงาน การที่คนรุ่นใหม่มามีส่วน