Page 213 - 21211_fulltext
P. 213

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก


                 8.3 ผลการศึกษา




                      หนึ่ง ผลการศึกษาเชิงประจักษ์ยืนยันข้อสันนิษฐานว่า ในเทศบาล และ อบต.
                 ขนาดเล็ก สรุปได้ว่ามีหลักฐานยืนยันว่า “ต้นทุนต่อหน่วยมีแนวโน้มลดลง”
                 (decreasing cost) สะท้อนในจำนวนพนักงานต่อประชากรพันคน  รายจ่ายบุคลากร
                 ต่อประชากร รายจ่ายการจัดบริการต่อประชากร  โดยพิจารณค่าพารามีเตอร์

                 (population และ population_squared) มีค่าลบและบวก อนึ่งพบว่าเมื่อจำนวน
                 ประชากรเพิ่มขึ้นถึงระดับ 1 หมื่นคนโดยประมาณ  ต้นทุนต่อหัวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

                      สอง ผลการศึกษาในข้อแรก สนับสนุนให้ควบรวม เทศบาล และ อบต.

                 ขนาดเล็ก ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขว่า ภายหลังการควบรวม-จำนวนประชากรไม่ควรจะใหญ่
                                                                                  29
                 เกินระดับหนึ่ง (ประมาณ 1 หมื่นคน ซึ่งเป็นจุดที่ต้นทุนต่อหน่วย ต่ำที่สุด  –
                 อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณา optimal size ของเทศบาลนั้น ไม่ได้พิจารณาจากด้าน

                 อุปทานเท่านั้น แต่ควรคำนึงด้านอุปสงค์หมายถึงความต้องการของประชาชน)

                      สาม เมื่อวิเคราะห์คะแนน LPA (local performance assessment) ซึ่งจัดทำ
                 โดยหน่วยงานของรัฐ (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย) ยืนยันว่า

                 คะแนนเฉลี่ยของ เทศบาล และ อบต. ที่มีขนาดเล็กมาก (ประชากรน้อยกว่า 2 พันคน)
                 คะแนน LPA ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย เหตุที่เป็นเช่นนี้สันนิษฐานว่า ก) การจัดบริการสาธารณะ
                 ในท้องถิ่นขนาดเล็ก ไม่ครบถ้วนหรือไม่ทั่วถึง ข) ปริมาณการจัดกิจกรรมหรือ
                 การให้บริการสาธารณะ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อาจเกี่ยวข้องกับฐานะการเงินด้อยกว่า

                 อนึ่ง การที่มีผู้ใช้บริการมีจำนวนน้อย อาจจะทำให้หน่วยงานขาดความกระตือรือล้น
                 หรือมองว่าทำไม่คุ้มค่า และเกิดทัศนคติว่า “ประชาชนช่วยตนเอง” ได้ เช่น ไม่มีบริการ


                    29   Minimum unit cost ในที่นี้สะท้อนด้านอุปทานเท่านั้น มิได้หมายรวมถึงด้านอุปสงค์  ในการ
                 วิเคราะห์องค์รวมจำเป็นต้องคำนึงถึงทั้งสองมิติ คือ ผู้ให้บริการ และ ผู้รับบริการ  หากขนาดองค์กรใหญ่
                 มาก (เช่น เกินกว่า 50-100 ตารางกิโลเมตร ระยะการเดินทางจากจุดหนึ่งมายังสำนักงานเทศบาล
                 อาจจะยาวไกล กินเวลานาน และก่อปัญหาความไม่สะดวก)  อย่างไรก็ตาม สภาพความจริงในบริบทของ
                 ประเทศไทยคือ มี เทศบาล และ อบต. ขนาดเล็กทั้งพื้นที่ และจำนวนประชากร  นับจากกลุ่ม rankpop
                 < 501 ค่าเฉลี่ยประชากร 2,274 คน ขนาดพื้นที่ 32.5 ตารางกิโลเมตร









             1 0 สถาบันพระปกเกล้า
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218