Page 208 - 21211_fulltext
P. 208
โครงการวิจัยนี้กำหนดเป้าหมายสำคัญ 2 ประการ ประการแรก
ทบทวนทฤษฎีและแนวคิดการจัดการ เน้นหลักการประหยัดจากขนาด
(economies-of-scale) โดยคำนึงถึงบริบทของท้องถิ่น โดยพัฒนา
แบบจำลองเพื่อการทดสอบข้อมูลเชิงประจักษ์ และนำข้อมูล เทศบาล
และ อบต. มาเป็นกรณีศึกษา (7,775 แห่ง) โดยสันนิษฐานว่า เทศบาล
และ อบต. ที่มีขนาดเล็กเกินไป -- การจัดสรรทรัพยากรอาจจะไม่คุ้มค่า
ต้นทุนต่อหน่วยสูงเกิน ความสามารถจัดเก็บรายได้ต่ำและเป็นภาระของ
รัฐบาลในการให้เงินอุดหนุนน ตลอดจนคะแนนการทำงาน (local
performance assessment: LPA) ต่ำ เนื่องจากการจัดบริการ
สาธารณะไม่ครบถ้วน หรือคุณภาพบริการสาธารณะต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
ประการที่สอง การศึกษาศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
โดยสันนิษฐานว่าส่งผลดีต่อส่วนรวมในระยะยาว กล่าวคือ การใช้
ประโยชน์จาก “การประหยัดจากขนาด” การเพิ่มบริการสาธารณะตาม
ความต้องการของประชาชนและฐานะการเงิน การใช้งานบุคลากรคุ้มค่า
(เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการควบรวม) ซึ่งข้อเสนอการควบรวมท้องถิ่น
ขนาดเล็ก เป็นแนวทางที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)
นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และต่อสังคมส่วนร่วม เกิดเป็น national
agenda หรือประเด็นที่สังคมส่วนรวมนำมาถกเถียง / อภิปราย
อย่างไรก็ตาม การควบรวมหน่วยงานท้องถิ่นขนาดเล็ก ยังอยู่ในขั้น
“เริ่มต้น” และไม่มีความชัดเจนว่า ข้อเสนอของ สปท. จะได้ร้บการสนับ
สนุนจากหน่วยงานอื่น ๆ หรือไม่ จำเป็นต้องวิเคราะห์โดยคำนึงถึง
ปัจจัยเชิงสถาบัน เข้าใจผลกระทบทั้งมิติส่วนรวมและส่วนบุคคล
ผลกระทบทางลบส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่ประจักษ์ได้ชัดเจน (จากการ
ลงพื้นที่ภาคสนามและสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง) กล่าวคือ ก) ที่นั่ง
ในสภาท้องถิ่นลดลงเมื่อเกิดการควบรวม ดังนั้น ฝ่ายการเมืองท้องถิ่น
มักจะคัดค้าน หมายถึง ต้นทุนในการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองเพิ่มขึ้น
เนื่องจากเดิมการเป็นสมาชิก อบต. เป็นตัวแทนของหมู่บ้าน (2 คน
สถาบันพระปกเกล้า 1