Page 211 - 21211_fulltext
P. 211

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                        ๏  การทำกรณีศึกษาในพื้นที่ การสอบถามทัศนคติและความคิดเห็นของ
                          คนท้องถิ่น (ฝ่ายการเมือง เจ้าหน้าที่ของรัฐ) เพื่อประมวลข้อมูลสถานการณ์
                          (จำเพาะเจาะจงของแต่ละพื้นที่) เข้าใจว่ามีการเตรียมการควบรวมอย่างไร
                          เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับมาตรการควบรวม


                        ๏  การควบรวมท้องถิ่นตามหลักการมีสองแนวทาง คือ ควบรวมภาคบังคับ
                          และ ควบรวมโดยสมัครใจ แต่ในบริบทของประเทศไทย—แนวทางแรก
                          น่าจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยได้ระบุถ้อยคำว่า

                          “เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน” ซึ่งตีความว่าการควบรวมจำเป็น
                          ต้องคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชน อนึ่ง ระเบียบปฏิบัติการควบรวม
                          (พ.ศ. 2547) ได้กำหนดขั้นตอนการสอบถามเจตนารมณ์ของประชาชนหรือ

                          ประชามติ (กรณีศึกษาในอดีต เทศบาลวังน้ำเย็น จ.สระแก้ว และ เทศบาล
                          วังเหนือ จ.ลำปาง มีขั้นตอนการลงคะแนนเสียงของประชาชน)

                        ๏  การน้อมนำวิธีการ “นโยบายศึกษา”มาใช้ หมายถึง ขั้นตอนต่าง ๆ ของ

                          การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ คือ policy identification, policy agenda,
                          policy implementation, policy evaluation

                        ๏  การเสนอทางเลือก (มาตรการจูงใจโดยจัดสรรเงินอุดหนุนให้หน่วยงาน
                          ท้องถิ่นที่เข้ากระบวนการควบรวม เนื่องจากตระหนักว่า มีต้นทุนการปรับตัว

                          และค่าโสหุ้ยเกิดขึ้น และเป็นการให้ความร่วมมือกับรัฐบาล จึงเป็น
                          การสมควรได้รับเงินอุดหนุนในช่วงการเปลี่ยนผ่าน

                 8.2 กิจกรรมการวิจัย



                      ส่วนที่หนึ่ง การศึกษาสภาพเป็นจริง (positive analysis) โดยอิงหลักฐาน

                 เชิงประจักษ์ และการทดสอบข้อสันนิษฐานการวิจัย (การประหยัดจากขนาดของ
                 ท้องถิ่น) ผ่าน 3 สมการ กล่าวคือ staffpop1000, capxstaff, capxserv ซึ่งสะท้อน
                 ปัจจัยนำเข้าเปรียบเทียบกับผู้รับบริการ (ประชาชน) อีกนัยหนึ่งเป็นการวัด cost-
                 effectivenesss โดยทดสอบว่า องค์การขนาดเล็กเกินไปมีต้นทุนต่อหัวสูง สะท้อน

                 การใช้ทรัพยากรที่ไม่คุ้มค่า และเป็นภาระการอุดหนุนของรัฐบาล การทดสอบ




             1   สถาบันพระปกเกล้า
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216