Page 215 - 21211_fulltext
P. 215

การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
           และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก




                      หก คณะวิจัยพบว่า มีอย่างน้อย 2 กรณีศึกษาที่ควบรวมสำเร็จ กล่าวคือ
                 เทศบาลวังน้ำเย็น จ. สระแก้ว ดำเนินการสำเร็จในปี 2553 จากการลงพื้นที่ภาคสนาม
                 และสัมภาษณ์ฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำ ประเมินว่าการควบรวมเป็นผลดี
                 นอกเหนือจากลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเทศบาล และ อบต. การบริการสาธารณะ

                 เกิดผลดี เทศบาลวังน้ำเย็นได้รับการประเมินสูงและได้รางวัลการบริหารจัดการที่ดีตาม
                 หลักธรรมาภิบาลหลายครั้ง กรณีควบรวมสำเร็จในจังหวัดลำปาง คือ ควบรวม อบต.

                 วังเหนือ และ เทศบาลวังเหนือ เข้าด้วยกัน ในปลายปี 2560 เกิดจากหลายปัจจัย คือ
                 ประชาชนในสองพื้นที่ใกล้ชิดกันรู้จักหรือเป็นญาติพี่น้องกัน บทบาทของนายอำเภอ
                 ในการนำสองฝ่ายมาเจรจาปรึกษาหารือกัน และลงประชามติในท้า ยที่สุด ซึ่งคะแนนเสียง
                 เห็นด้วยกับการควบรวมสูงเกินกว่าร้อยละ 80 ทำเลที่ตั้งของสองพื้นที่ไม่ห่างไกลกัน

                 มาก ดังนั้นอุปสรรคของการเดินทางมาติดต่อสำนักงาน—น้อยหรือไม่มี  สำหรับ
                 สำนักงานของ อบต. ที่มีอยู่แล้ว คณะวิจัยได้รับข้อมูลว่า หน่วยงานจะปรับปรุงให้กลายเป็น
                 ศูนย์หรือสาขาของการให้บริการ หมายถึง ทรัพยากรที่มีอยู่แล้วจะนำไปใช้ประโยชน์

                 ไม่ทิ้งร้าง

                      เจ็ด  กรณีศึกษาการควบรวม 3 แห่งของจังหวัดอุบลราชธานี (เทศบาลเมือง
                 ขามใหญ่ เทศบาลตำบลปทุม และ อบต. ไร่น้อย) นับเป็นกรณีพิเศษที่น่าสนใจ

                 เนื่องจากมิได้เป็นขนาดเล็ก ประชากรรวมกันมากกว่า 7 หมื่นคน ซึ่งหมายถึง
                 มีความพร้อมที่จะยกฐานะเป็น “เทศบาลนคร” คณะวิจัยได้สืบค้นสาเหตุเชิงคุณภาพ
                 และได้รับการอธิบายว่า ก) ฝ่ายการเมืองในสามพื้นที่รู้จักกันดีหรือเป็นญาติพี่น้อง

                 หากควบรวมซึ่งจะทำให้การแข่งขันทางการเมืองสู่ตำแหน่งสภาเทศบาลนคร สามารถ
                 รอมชอมกันได้ ข) ผู้บริหารมองการณ์ไกลว่า พื้นที่ที่รับผิดชอบเป็นตัวเมืองส่วนขยาย
                 ที่มีศักยภาพสูง การยกฐานะเป็นเมืองใหญ่มีข้อได้เปรียบด้านการบริหาร ประสิทธิภาพ

                 สูงกว่า มีอำนาจการต่อรองสูงกว่า และคาดว่าจะได้รับงบประมาณสนับสนุนมากกว่า
                 ฐานะในปัจจุบัน ค) ได้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ และการสอบถาม
                 เจตนารมณ์ของประชาชน ส่วนใหญ่เห็นด้วย จ) ทั้งสามหน่วยงานได้ดำเนินการตาม
                 ระเบียบการควบรวมของท้องถิ่น และได้เสนอความต้องการรวมทั้งผลคะแนนของ

                 ประชาชนให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
                 เมื่อเห็นชอบแล้วจัดทำประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้






             1 2 สถาบันพระปกเกล้า
   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220