Page 212 - 21211_fulltext
P. 212
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
ข้อสันนิษฐาน “การประหยัดจากขนาด” โดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติ โดยคำนึงถึง
ความแตกต่างของภูมิภาค
ส่วนที่สอง การวิเคราะห์เชิงสถาบันและการสำรวจข้อมูลพื้นที่และข้อมูล
เชิงคุณภาพ (บันทึกกรณีศึกษา) เพื่อเข้าใจสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ การวิเคราะห์
ในส่วนนี้ครอบคลุม
๏ กรณีศึกษาการควบรวมระหว่าง เทศบาลตำบลวังน้ำเย็น และ
อบต.วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ซึ่งดำเนินการควบรวมปี พ.ศ. 2553
๏ กรณีศึกษาการควบรวมระหว่าง เทศบาลตำบลวังเหนือ และ อบต.วังเหนือ
จังหวัดลำปาง ในปี พ.ศ. 2560
๏ กรณีศึกษาข้อเสนอการควบรวม 3 หน่วยงาน คือ เทศบาลตำบลขามใหญ่
เทศบาลตำบลปทุม และ อบต.ไร่น้อย จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้ดำเนินการ
ตามขั้นตอน และผ่านการลงมติของประชาชน ดำเนินการในปี พ.ศ. 2561
๏ การเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยนักวิจัยรวบรวมข้อมูล เทศบาล และ อบต.
จำแนกเป็นภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้
เพื่อประมวลข้อมูลของแต่ละพื้นที่ สอบถามการรับรู้นโยบาบควบรวม
ทั้งในส่วนของฝ่ายการเมืองท้องถิ่นและฝ่ายพนักงานท้องถิ่น ความคิดเห็น
ของประชาชนต่อข้อเสนอการควบรวม บันทึกข้อมูลความห่วงใยของ
ประชาชน การคำนึงถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุน
การปรับตัว (adjustment cost)
๏ การรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับ อปท. ขนาดเล็ก (จำนวน
500 แห่ง) เพื่อประมวลข้อมูลการรับรู้นโยบายควบรวม การเตรียมการ
ที่ผ่านมา ความต้องการควบรวม (หากมี) ทางเลือกของการควบรวม
(ควบกับหน่วยงานอะไรที่อาณาเขตติดต่อกัน) และความคิดเห็นต่อคำถาม
“หนึ่งตำบลควรจะมีท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว”
สถาบันพระปกเกล้า 1