Page 217 - 21211_fulltext
P. 217
การประหยัดจากขนาดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และวิเคราะห์ศักยภาพการควบรวมท้องถิ่นขนาดเล็ก
8.4 ข้อเสนอแนะการปรับปรุงงานวิจัยในอนาคต
ข้อเสนอต่อการศึกษาวิจัยที่ควรดำเนินการในอนาคต
1. การวิจัยในครั้งนี้ดำเนินการภายใต้ข้อจำกัดเวลาและงบประมาณ ดังนั้น
การครอบคลุมกรณีศึกษา (case studies) จีงทำได้ไม่มาก ไม่ครอบคลุม มีเหตุผล
สมควรที่จะสนับสนุนให้สถาบันวิชาการในท้องถิ่นเพิ่มเติมกรณีศึกษา โดยให้ครอบคลุม
เทศบาล และ อบต. ในจังหวัด/ภูมิภาคต่าง ๆ อย่างทั่วถึง เป็นที่น่ายินดีที่มีมหาวิทยาลัย
ราชภัฏและมหาวิทยาลัยของรัฐในต่างจังหวัด เชื่อว่าหน่วยงานมีนักวิชาการที่พร้อมและ
มีความสนใจที่จะวิจัยเชิงลึก เกี่ยวกับท้องถิ่น โดยเฉพาะประเด็นการควบรวม เทศบาล
และ อบต. เข้าด้วยกัน
2. คณะวิจัยได้ข้อสังเกตว่า มีกรณีศึกษาในลักษณะพิเศษ เช่น กรณีของ
อบต.เพ ทต.เพ และเกาะเสม็ด อำเภอเพ จังหวัดระยอง เป็นกรณีศึกษาพิเศษที่ควรมี
การขยายกรอบแนวคิด เนื่องมาจากเงื่อนไขสภาพทางพื้นที่ภูมิศาสตร์ ที่ทำให้พื้นที่
กรณีศึกษาดังกล่าว มีความแตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ อย่างชัดเจน และมีความเป็นไปได้
ว่า อาจจะมีพื้นที่เทศบาล และ อบต. ในแต่ละภูมิภาค ที่มีความแตกต่างกันตามเงื่อนไข
สภาพทางพื้นที่ภูมิศาสตร์
3. พื้นที่เทศบาล และ อบต. หลายแห่ง มีความประสงค์ที่จะควบรวม แต่ยังไม่
ได้มีการพัฒนากระบวนการต่าง ๆ รวมถึงแนวทาง วิธีการ และการวางแผนการพัฒนา
อย่างต่อเนื่อง หากมีหน่วยงานพี่เลี้ยง (มหาวิทยาลัยราชภัฎหรือมหาวิทยาลัย
ในภูมิภาค) อาจจะช่วยกระตุ้นให้มีการค้นคว้าและส่งผลดีต่อความตื่นตัวของประชาชน
และหน่วยงาน อนึ่ง จากการสัมภาษณ์หน่วยงานท้องถิ่นพบว่า ท้องถิ่นส่วนใหญ่ยินดี
ให้ความร่วมมือกับสถาบันวิชาการ/สถาบันวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือ
พัฒนาบริการสาธารณะให้ดีขึ้น
4. การวิจัยควบรวม อาจจะหมายรวมถึงการจัดทำข้อเสนอ “การแยกตัว” ของ
หน่วยงานท้องถิ่น แต่ละหน่วยที่อาจจะแยกตัวออกจาก อปท. และนำมารวมตัวกัน
เป็นกลุ่ม เพื่อการจัดการบริการสาธารณะเฉพาะให้กับแต่ละ อปท. โดยการจัดการ
บริการสาธารณะดังกล่าว จะนำไปสู่การประหยัดต่อขนาดที่หน่วยบริการมีขนาดใหญ่
1 สถาบันพระปกเกล้า